Page 67 -
P. 67
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
56 Humanities Journal Vol.21, No.1 (January-June 2014)
๏ ใครหมิ่นก็หมิ่นทิ้ง ทางพิจารณ์ หมดเพ่ออน
เห็นหลอกเห็นหลงสรรพ์ ส่อร้าย
เลยเห็นว่าเป็นนิทาน ลวงโลก ตลุยแฮ
้
ยกเหตุยกกย้ายปาย แต่ค า ฯ
(พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์, 2456: 55)
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าต านานรอยพระพุทธบาทสระบุรีในโคลง
ลิลิตดั้นต านานพระพุทธบาทจะเป็นหนึ่งในข้อมูลที่ผู้แต่งน ามาแสดงไว้เพื่อให้
งานบรรลุจุดประสงค์ด้านการค้นคว้า โดยมิได้มีเจตนาเพื่อเชิดชูความศักดิ์สิทธิ์
ของรอยพระพุทธบาท กระนั้นต านานก็ยังคงมีบทบาทในการให้ความรู้ด้านที่มา
และแสดงความส าคัญของรอยพระพุทธบาทสระบุรีในสังคมไทย ทั้งนี้ความส าคัญ
ดังกล่าวมิได้ผูกโยงอยู่กับความศักดิ์สิทธิ์ดังเช่นที่ปรากฏในบุณโณวาทค าฉันท์
แต่เป็นความส าคัญที่เกิดจากการได้รับอุปถัมภ์เป็นพิเศษจากสถาบัน
พระมหากษัตริย์ ดังจะเห็นได้จากเนื้อหาที่ผู้แต่งน าเสนอต่อจากต านานรอยพระ
พุทธบาทซึ่งกล่าวถึงการอุปถัมภ์รอยพระพุทธบาทของอดีตพระมหากษัตริย์ตั้งแต่
สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์โดยล าดับ แสดงให้เห็นว่า ด้วยพันธกิจที่สถาบัน
สูงสุดมีต่อรอยพระพุทธบาทสระบุรีมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ท าให้ศาสนสถาน
แห่งนี้ยังคงความส าคัญในฐานะ “มหาเจดียสถาน” ของสังคมไทย
กล่าวโดยสรุป ความส าคัญของต านานรอยพระพุทธบาทสระบุรีที่
แตกต่างกันในวรรณคดีทั้ง 2 เรื่อง สะท้อนคติความเชื่อและความศรัทธาในรอย
พระพุทธบาทสระบุรีที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ในบุณโณวาทค าฉันท์การใช้
ต านานจากคัมภีร์พุทธศาสนาเพื่ออธิบายความเป็นมาและตอกย ้าความศักดิ์สิทธิ์
ของรอยพระพุทธบาทในฐานะ “บริโภคเจดีย์” อันแท้จริง แสดงให้เห็นว่าผู้คนใน
สมัยกรุงศรีอยุธยานับตั้งแต่สถาบันพระมหากษัตริย์ตลอดจนราษฎรทั่วไปมีความ
ศรัทธาต่อมหาเจดียสถานแห่งนี้อย่างแนบแน่น ส่วนต านานรอยพระพุทธบาท
สระบุรีในโคลงลิลิตดั้นต านานพระพุทธบาท แม้ว่าจะให้ความรู้ด้านความเป็นมา
ของศาสนสถานในมิติที่กว้างขวางกว่า กระนั้นก็มิได้มีจุดประสงค์เพื่อแสดงความ