Page 62 -
P. 62

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                     วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2557)   51

                              ด้วยเหตุนี้ต านานรอยพระพุทธบาทในบุณโณวาทค าฉันท์ จึง
                มิได้เป็นเพียงตัวบทที่อธิบายความเป็นมาของรอยพระพุทธบาทสระบุรีเท่านั้น แต่
                ยังตอกย ้าความศักดิ์สิทธิ์ของศาสนสถานดังกล่าวในฐานะรอยพระพุทธบาท

                “อันแท้จริง” ที่มิได้ท าจ าลองขึ้น นอกจากนี้เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่าง
                ต านานรอยพระพุทธบาทที่พระมหานาคน าเสนอไว้ตั้งแต่ต้นเรื่องกับเนื้อหาส่วนที่
                กล่าวถึงการอุปถัมภ์รอยพระพุทธบาทของพระมหากษัตริย์ ทั้งการสร้างมณฑป
                พระพุทธบาท ประเพณี “ไปพระบาท” ของราชส านัก และงานสมโภชพระพุทธบาท
                กล่าวได้ว่าความศักดิ์สิทธิ์ของรอยพระพุทธบาทที่น าเสนอผ่านต านานช่วยเน้นย ้า
                ความส าคัญและความจ าเป็นในการ “ไปพระบาท” ของพระมหากษัตริย์ได้เป็น

                อย่างดี เมื่อรอยพระพุทธบาทคือ “บริโภคเจดีย์” ที่ควรแก่การสักการะสูงสุด
                สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงเสด็จพระราชด าเนินไปนมัสการมหาเจดียสถาน
                แห่งนี้ด้วยพระองค์เอง ทั้งเพื่อความเป็นสิริมงคลและเพื่อรักษา “โบราณราช
                ประเพณี” ที่บรรพกษัตริย์ทรงปฏิบัติสืบต่อกันมา

                       2.  ต านานรอยพระพุทธบาทสระบุรีในโคลงลิลิตดั้นต านานพระ
                พุทธบาท
                         โคลงลิลิตดั้นต านานพระพุทธบาท เป็นพระนิพนธ์ของพระเจ้า

                บรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์  แต่งขึ้นเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระ
                                                                  5
                มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชด าเนินโดยรถไฟสายพระพุทธบาท  เพื่อยกยอด
                มณฑปพระพุทธบาทในพ.ศ.2456 ในครั้งนั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิป
                ประพันธ์พงศ์ซึ่งทรงเป็นผู้ด าเนินการรถไฟสายดังกล่าวต้องการทูลเกล้าฯ ถวาย
                ของที่ระลึกเนื่องในโอกาสพิเศษนั้น จึงเกิดแรงบันดาลใจสร้างสรรค์โคลงลิลิตดั้น
                ต านานพระพุทธบาท มีจุดประสงค์ที่จะรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับรอยพระพุทธ





                       5
                         ตามต้นฉบับเขียนว่า “เสด็จโดยทางรถราง” ในที่นี้หมายถึงรถไฟสายพระ
                พุทธบาทที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงเป็นผู้ริเริ่ม โดยจัดตั้ง
                เป็นบริษัทที่ชื่อว่า “บริษัท รถรางพระพุทธบาท ทุนจ ากัด”.
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67