Page 60 -
P. 60

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                     วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2557)   49

                      สุวรรณพรายเจษฎา            ส าแดงรอยพระพุทธบาทไว้ใน
                      ๏ ด้วยบงกชบาทเบื้องขวา     ประเทศที่นี้ จะได้เป็นที่ไหว้ที่
                      ลายลักษณวรา                สักการบูชาแก่เทวดาแลมนุษย์ทั้ง
                      ทั้งร้อยแปดประการงาม       ปวงต่ างพระองค์เจ้าเถิด

                      ๏ เฉลิมโมลีโลกทั้งสาม      พระพุทธเจ้าข้า เมื่อพระสัจจพันธ
                      ปรากฏในคาม                 ภิกขุมาอาราธนาพระมหากรุณา
                      นิคมชนบทบุรา ฯ             เจ้าวันนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าจึง
                      (กรมศิลปากร, 2503: 20-21)   ประดิษฐานพระพุทธบาทเบื้อง
                                                 ขวา ลงไว้ในแผ่นศิลาเหนือเขา
                                                 สัจจพันธคีรี...” (กรมศิลปากร,
                                                 2547: 212)

                              เมื่อต านานรอยพระพุทธบาทสระบุรีหรือรอยพระพุทธบาทบน
                เขาสุวรรณบรรพตในบุณโณวาทค าฉันท์มีข้อความบางส่วนแตกต่างจาก “อรรถ
                กถาปุณโณวาทสูตร” โดยที่ข้อความเหล่านั้นไปปรากฏตรงกับใน “พระปุณโณ
                วาทสูตรคัมภีร์เทศนา” จึงสรุปได้ว่าต านานรอยพระพุทธบาทจาก “บุณโณวาท
                สูตรา” ที่พระมหานาคอ้างถึงนั้น แท้จริงแล้วมาจาก “พระปุณโณวาทสูตรคัมภีร์
                เทศนา” ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่แต่งเติมเนื้อเรื่องจาก “อรรถกถาปุณโณวาทสูตร” อีก

                ชั้นหนึ่ง และถึงแม้ว่า “พระปุณโณวาทสูตรคัมภีร์เทศนา” จะมีหลักฐานว่าจาร
                ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 แต่การใช้อักขรวิธีที่มีความเก่าแก่ถึงสมัยอยุธยา ท าให้
                สันนิษฐานได้ว่าคัมภีร์ดังกล่าวเคยมีต้นฉบับมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนที่จะ
                จารขึ้นใหม่ในยุคหลัง นอกจากนี้ต้นฉบับ “พระปุณโณวาทสูตรคัมภีร์เทศนา”

                “อรรถกถาปุณโณวาทสูตร” และ “ปุณโณวาทสูตร” ในหอสมุดแห่งชาติที่บุญเลิศ
                เสนานันท์ ใช้ในการปริวรรตและแปลความร่วมกันทั้งหมด 8 ฉบับนั้น ต่างก็ใช้ชื่อ
                หน้าต้นฉบับว่า “พระปุณโณวาทสูตร” ด้วยกันทั้งสิ้น มิได้ระบุว่าเป็น “ฉบับเทศนา”
                หรือเป็น “อรรถกถา” ด้วยเหตุนี้ท าให้เกิดความกระจ่างว่าเหตุใดพระมหานาคจึง
                อ้างว่าน าต านานรอยพระพุทธบาทสระบุรีมาจาก “บุณโณวาทสูตรา” หรือ “ปุณโณ

                วาทสูตร”
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65