Page 64 -
P. 64
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2557) 53
2.1 ที่มาของต านานรอยพระพุทธบาทสระบุรีในโคลงลิลิตดั้น
ต านานพระพุทธบาท
ก่อนแสดงต านานรอยพระพุทธบาทสระบุรี ผู้แต่งอ้างถึงที่มา
ของต านานดังกล่าวโดยเขียนก ากับไว้ว่า “บุณโณวาทสูตร์โบราณ (ตามอรรถ
กถาลังกา)” จากนั้นจึงขึ้นบทเกริ่นน าเพื่ออ้างอิงที่มาของต านาน แม้ในบทเกริ่น
น าจะเรียกชื่อภูเขาที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทว่า “สัจจะพันธะภูผา” หรือ “สัจพันธ
บรรพต” แต่เนื้อเรื่องต านานที่ยกมานั้นจะใช้ว่า “สุวรรณบรรพต” แทน
๏ บุณโณวาทสูตร์เอ้ออน อรรถา แถลงเอย
เร่อองประดิษฐพุทธบาทบรร เจอดด้าว
สัจจะพันธะภูผา พิภพภาค สยามฤๅ
โดยสดบบฉบบบเบ้อองน้าว ขบบเฉลย ฯ
(พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์, 2456: 6)
ต านานรอยพระพระพุทธบาทสระบุรีในโคลงลิลิตดั้นต านาน
พระพุทธบาท มิได้ตัดตอนหรือเลือกกล่าวถึงเฉพาะเหตุการณ์ที่พระพุทธองค์ทรง
ประทับรอยพระพุทธบาทไว้บนเขาสุวรรณบรรพตดังเช่นที่ปรากฏในบุณโณวาท
ค าฉันท์ แต่ผู้แต่งแสดงเนื้อเรื่องในต านานไว้เกือบทั้งหมด (ขาดเพียงส่วนที่
กล่าวถึงการเสด็จไปโปรดพญานาคราชและการประทับรอยพระพุทธบาท
ั่
ริมฝงแม่น ้านัมทา) ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การประพันธ์ที่ต้องการให้
เป็นงานค้นคว้ารวบรวมข้อมูล
เมื่อเปรียบเทียบต านานรอยพระพุทธบาทในโคลงลิลิตดั้น
ต านานพระพุทธบาทกับข้อความใน “อรรถกถาปุณโณวาทสูตร” และ “พระ
ปุณโณวาทสูตรคัมภีร์เทศนา” แล้ว พบว่ารายละเอียดส่วนใหญ่ตรงกับที่ปรากฏ
ใน “พระปุณโณวาทสูตรคัมภีร์เทศนา” ไม่ว่าจะเป็น
- การใช้ชื่อ “มหาบุณ” เรียกพระปุณณะก่อนบวช
- ระบุว่าพระสัจพันธ์เจาะจงทูลขอรอยพระพุทธบาท