Page 56 -
P. 56
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2557) 45
๏ หวังไว้อภิวาทน์สักการ ทุกทิวาวาร
บยลพระองค์ต่างองค์
๏ สมเด็จสุคตก็ทรง การุญโดยจง
แก่สัจพันธภักดี
๏ จึ่งเหยียบวรบาทมุนี ยังยอดศีขรี
สุวรรณพรายเจษฎา
๏ ด้วยบงกชบาทเบื้องขวา ลายลักษณวรา
ทั้งร้อยแปดประการงาม
๏ เฉลิมโมลีโลกทั้งสาม ปรากฏในคาม
นิคมชนบทบุรา ฯ
(กรมศิลปากร, 2503: 18-21)
ต านานกล่าวถึงพระสัจพันธดาบสผู้อาศัยอยู่บนเขาสุวรรณ
ั
บรรพตในกรุงเทพทวารวดีหรือกรุงศรีอยุธยา สัจพันธดาบสได้ฟงพระธรรมเทศนา
จากพระพุทธองค์เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ก าลังเสด็จไปยังเมืองสุนาปรันตะตามการ
อาราธนาของมหาบุณหรือพระปุณณะ พระพุทธองค์เดินทางมาโดยบุษบก พร้อม
ด้วยเหล่าพระสาวก 499 รูป กระบวนบุษบกของพระพุทธองค์และเหล่าพระสงฆ์
สาวกเปรียบเสมือนพญาหงส์ที่แวดล้อมไปด้วยเหล่าหงส์บริวาร เมื่อพระพุทธองค์
แสดงธรรมโปรดสัจพันธดาบสจนบรรลุอรหันต์แล้ว จึงมีรับสั่งให้พระสัจพันธ์อยู่สั่ง
สอนธรรมที่เขาสุวรรณบรรพตต่อไป พระสัจพันธ์เศร้าโศกมากที่มิได้ตามเสด็จ
กลับไปยังกรุงสาวัตถีจึงทูลขอรอยพระพุทธบาทไว้ต่างพระองค์ พระศาสดามีความ
เมตตาต่อพระสัจพันธ์จึงประทับรอยพระพุทธบาทเบื้องขวาอันประกอบไปด้วยลาย
มงคล 108 ประการไว้บนเขาสุวรรณบรรพต
ต านานรอยพระพุทธบาทที่ยกมาข้างต้นมีประเด็นที่ต้อง
พิจารณาเป็นอย่างแรกคือ “ชื่อภูเขา” ในบุณโณวาทค าฉันท์ระบุว่าภูเขาที่
พระพุทธองค์ทรงประทับรอยพระพุทธบาทนั้นชื่อว่า “เขาสุวรรณ” หรือ “สุวรรณ
บรรพต” ซึ่งเป็น 1 ใน 5 สถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท “อันแท้จริง” ตาม