Page 53 -
P. 53

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          42       Humanities Journal Vol.21, No.1 (January-June 2014)

                   นอกจากต านานรอยพระพุทธบาทใน “อรรถกถาปุณโณวาทสูตร”
          ที่ยกมาข้างต้นแล้ว ยังมีการแต่ง “พระปุณโณวาทสูตรคัมภีร์เทศนา” (“พระปุณโณ

          วาทสูตรฉบับเทศนา” หรือ “คัมภีร์เทศนาพระปุณโณวาท”) ที่น าประวัติของพระ
          ปุณณะและเรื่องการประทับรอยพระพุทธบาทจาก “อรรถกถาปุณโณวาทสูตร”
                                                        2
          มาแต่งเติมเพิ่มรายละเอียดขึ้นอีกชั้นหนึ่ง บุญเลิศ เสนานันท์ ให้ข้อมูลว่า “พระ
          ปุณโณวาทสูตรคัมภีร์เทศนา” จารขึ้นเมื่อพ.ศ.2353 เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลสมเด็จ
          พระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ต้นฉบับเป็นตัวอักษรขอม ภาษาบาลี – ไทย (ฉบับ
          ล่องชาด)  เอกสารดังกล่าวใช้อักขรวิธีแบบเก่าซึ่งน่าจะมีอายุถึงสมัยอยุธยา (กรม
          ศิลปากร, 2547: 177) เนื้อเรื่องใน “พระปุณโณวาทสูตรคัมภีร์เทศนา” ส่วนใหญ่

          คล้ายคลึงกับใน “อรรถกถาปุณโณวาทสูตร” แม้ว่าจะมีรายละเอียดแตกต่างกัน
          อันเนื่องมาจากการเพิ่มเติมบทสนทนา การขยายความ หรือการตัดข้อความ
          บางส่วนออก แต่ก็มิได้ท าให้เนื้อหาหลักเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตามผู้วิจัยพบว่า
          รายละเอียดที่ “พระปุณโณวาทสูตรคัมภีร์เทศนา” เพิ่มเติมเข้ามานั้น บางส่วนมี
          ความส าคัญต่อการวิเคราะห์หาที่มาของต านานรอยพระพุทธบาทสระบุรีใน

          วรรณคดีที่ศึกษา ผู้วิจัยจึงแสดงรายละเอียดดังกล่าวไว้ดังนี้
                   -  ระบุว่าพระปุณณะในสมัยที่เป็นพ่อค้าชื่อว่า “มหาบุณ”
                   -  มีการใช้ความเปรียบว่ากระบวนบุษบกของพระพุทธองค์เหมือน
          กระบวนของพญาหงส์ที่แวดล้อมไปด้วยเหล่าหงส์บริวาร
                   -  มีการพรรณนาความโศกเศร้าของพระสัจพันธ์ที่มิได้ตามเสด็จ

          กลับไปยังกรุงสาวัตถี
                   -  ระบุว่าพระสัจพันธ์เจาะจงทูลขอรอยพระพุทธบาท
                   -  ระบุว่ารอยพระพุทธบาทที่พระพุทธองค์ทรงประทับไว้นั้นเป็น
          รอยพระพุทธบาทเบื้องขวา
                   -  ระบุว่าพระพุทธองค์ท าให้เขาสัจพันธบรรพตที่มีความสูง 1 โยชน์
          ต ่าลงมาเพื่อให้คนเฒ่าชราเดินทางไปนมัสการรอยพระพุทธบาทได้โดยสะดวก



                 2
                   นักภาษาโบราณ 7 ว. ส านักหอสมุดแห่งชาติ.
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58