Page 51 -
P. 51
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
40 Humanities Journal Vol.21, No.1 (January-June 2014)
๏ จักกล่าวนิพนธ์ประพฤฒิฉัน- ทแต่ตามอนุมาน
แสดงโดยอดีตนุด านาน บุณโณวาทสูตรา
(กรมศิลปากร, 2503 18)
ผู้แต่งอ้างว่าน าต านานรอยพระพุทธบาทสระบุรีมาจาก “บุณโณวาท
สูตรา” ชื่อนี้ตรงกับ “ปุณโณวาทสูตร” ซึ่งเป็นพระสูตรหนึ่งในพระสุตตันตปิฎก
ั
มัชฌิมนิกาย อุปริปณณาสก์ มีเนื้อหาว่าด้วยการประทานโอวาทของพระพุทธองค์
แก่พระปุณณะผู้เป็นที่มาของชื่อพระสูตร สิ่งที่น่าสนใจคือพระสูตรดังกล่าวไม่
ปรากฏเรื่องการประทับรอยพระพุทธบาทแต่อย่างใด สอดคล้องกับที่สมเด็จฯ กรม
พระยาด ารงราชานุภาพเคยกล่าวว่า “แม้ในบาลี(พระไตรปิฎก-ผู้วิจัย) ก็หามี
ปรากฏอ้างว่าพระพุทธองค์ได้ทรงเหยียบรอยพระพุทธบาทประดิษฐานไว้ ณ แห่ง
หนึ่งแห่งใดไม่” (กรมศิลปากร, 2511: 23) ด้วยเหตุนี้จึงสรุปได้ในเบื้องต้นว่า
“บุณโณวาทสูตรา” ที่พระมหานาคอ้างถึงนั้น มิใช่ “ปุณโณวาทสูตร” ใน
พระไตรปิฎกอย่างแน่นอน
คัมภีร์พระพุทธศาสนาเล่มแรกที่กล่าวถึงการประทับรอยพระพุทธ
ั
บาทคือ “อรรถกถาปุณโณวาทสูตร” ปรากฏในคัมภีร์ปปญจสูทนีอรรถกถา
ั
มัชฌิมนิกาย อุปริปณณาสก์รจนาโดยท่านพุทธโฆสเถระชาวชมพูทวีป เมื่อ
ประมาณพุทธศักราช 945- 1000” (กรมศิลปากร, 2547: 173) อรรถกถานี้เป็น
ค าอธิบายและขยายความ “ปุณโณวาทสูตร” ในพระสุตตันตปิฎก โดยเพิ่มเติม
ประวัติของพระปุณณะและเรื่องการประทับรอยพระพุทธบาท มีเนื้อเรื่องโดยสรุป
ดังนี้
แต่เดิมพระปุณณะเป็นพ่อค้าชาวเมืองสุนาปรันตะ
ั
วันหนึ่งเดินทางไปค้าขายที่กรุงสาวัตถีและได้ฟงธรรมจากพระ
พุทธองค์ นายวานิชเกิดความเลื่อมใสจึงมอบกิจการค้าขาย
ทั้งหมดให้แก่น้องชาย และบวชเป็นภิกษุนามว่าพระปุณณะ
ต่อมาพระปุณณะเดินทางกลับเมืองสุนาปรันตะเพื่อปฏิบัติ
กรรมฐาน วันหนึ่งน้องชายของท่านจะเดินเรือไปค้าขายทาง