Page 72 -
P. 72

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                     วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม- มิถุนายน 2557)   61

                บทน า
                       ชาดก คือเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์

                เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏเพื่อบ าเพ็ญบารมีส าหรับบรรลุพระโพธิญาณ พระพุทธเจ้า
                ทรงน าชาดกมาเล่าเพื่อสอน เนื้อเรื่องของชาดกจึงเป็นเรื่องที่แสดงความเป็นวีรบุรุษ
                ของพระโพธิสัตว์ซึ่งเชื่อมโยงกับลักษณะเด่นของพระพุทธองค์ และช่วยแสดง
                ค าสอนทางพระพุทธศาสนาอันเป็นคติในการด าเนินชีวิตด้วย (ฐานิสร์ ชาครัตพงศ์,
                2537: 53-54)

                       วรรณคดีชาดกของไทยที่แต่งเลียนอรรถกถาชาดก ยังคงลักษณะข้างต้น

                ไว้ คือแต่งเป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ที่ต้องผจญกับอุปสรรคต่างๆ ส่วนใหญ่มี
                                                   ั
                องค์ประกอบของชาดกตามต้นแบบ ได้แก่ ปจจุบันวัตถุ อดีตวัตถุ คาถา และ
                สโมธาน เว้นแต่ส่วนอธิบายไวยากรณ์ (ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา, 2545:  47) แม้ในชั้น
                หลังการเล่าเรื่องจะเน้นความสนุกสนานแบบนิทานมหัศจรรย์มากขึ้น แต่ด้วย
                ลักษณะเรื่องที่มีตัวละครหลักเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ยังเอื้อให้ผู้เสพวรรณคดีประเภท

                นี้ตีความแนวคิดในเชิงคติธรรมได้ (กิ่งแก้ว อัตถากร, 2516: 16 อ้างถึงใน สายวรุณ
                น้อยนิมิตร, 2542: 1)

                       การน าเสนอค าสอนในวรรณคดีชาดกมีหลายกลวิธี เช่น การตั้งปุจฉา-
                วิสัชนา การใช้ความเปรียบ การอ้างถึง เป็นต้น (สายวรุณ น้อยนิมิตร, 2542: 170,
                199-200) แต่กลวิธีหนึ่งที่พบว่ายังไม่มีผู้ศึกษาให้ชัดเจนคือ การซ้อนนิทาน
                (frame  story) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า การเล่าเรื่องแบบนิทานซ้อนนิทาน  (tales

                within tales)

                       การซ้อนนิทานเป็นกลวิธีที่ให้ตัวละครในวรรณคดีเล่านิทานให้ตัวละครอื่น
                       ั
                ในเรื่องฟง (พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน,
                2545: 414) ประกอบด้วยเรื่องเล่า 2 ชุด คือ นิทานหลักและนิทานซ้อน กลวิธีนี้มี
                ต้นเค้ามาจากวรรณคดีอินเดีย เรื่องที่รู้จักแพร่หลายทั่วไปเช่น ปัญจตันตระ

                หิโตปเทศ เวตาลปัญจวิงศติ เป็นต้น ในการศึกษานิทานอุทาหรณ์ของกุสุมา
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77