Page 80 -
P. 80
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ยาวนานแต่ละพยางค์ มาหาค่าที่แตกต่างจากค่าเฉลี่ยของพยางค์ในโครงสร้างเดียวกัน อย่างมีนัยส�าคัญ
ทางสถิติที่ .05 ด้วยสูตร Z-score ผ่านโปรแกรม Microsoft excel เพื่อหาลักษณะเด่นอื่นๆ ประกอบการ
อธิบายเพิ่มเติม จากนั้น น�าความยาวนานแต่ละพยางค์มาศึกษาความสอดคล้องกับพยางค์เน้น และระบบ
การเน้นพยางค์ในเชิงสัทวิทยาตามทฤษฎีโครงสร้างการเน้นพยางค์ การวัดขอบเขตความยาวพยางค์มี
รายละเอียดดังนี้
1. พยางค์ที่เริ่มต้นด้วยพยัญชนะโฆษะ (voiced consonant) เช่น “มา” ใน วรรคที่ 4 ของบท
ร้อยแก้ว ของท�านองมคธ วัดความยาว โดยเริ่มจากจุดเริ่มต้นที่มีคลื่นเสียงที่มีการซ�้ารูปแบบ (repeated
pattern of waveform) ซึ่งสอดคล้องกับจุดที่ความเข้มข้นของเสียง (ความดัง) เริ่มสูงขึ้น และ ไปสิ้นสุด
ยังจุดที่คลื่นเสียงมีการซ�้ารูปแบบสิ้นสุดลง ซึ่งสอดคล้องกับจุดที่ความเข้มข้นของเสียง (ความดัง) ลดลงยัง
จุดต�่าสุด ก่อนจะสูงขึ้นในพยางค์ต่อไป (ภาพที่3)
2. พยางค์ที่เริ่มต้นด้วยพยัญชนะอโฆษะ (voiceless consonant) เช่น “สิ” ในบาทที่ 1 ของบทที่
3 ของบทร้อยกรองท�านองมคธ วัดความยาว โดยเริ่มจากจุดที่ความเข้มข้นของเสียง (ความดัง)เริ่มสูงขึ้น
โดยสังเกตการไม่ปรากฏของระดับเสียงสูงต�่า และการปรากฏของเสียงเสียดแทรก (frication) ที่ตรงกับ
พยัญชนะเสียดแทรก (fricative) ประกอบ โดยไปสิ้นสุดพยางค์ยังจุดที่ความเข้มข้นของเสียง (ความดัง)
ลดลงถึงจุดต�่าสุดก่อนจะสูงขึ้นในพยางค์ต่อไป (ภาพที่ 4)
ภาพคลื่นเสียง frication
ความดัง
-- ขอบเขต -- เสียงสูงต�่า ---- ขอบเขต ----
ปะ มา ณะ... … หิง สิ
ภาพที่ 3 ขอบเขตพยางค์ที่เริ่มต้น ภาพที่ 4 ขอบเขตพยางค์ที่เริ่มต้น
ด้วยพยัญชนะโฆษะ ด้วยพยัญชนะอโฆษะ
72 วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554