Page 76 -
P. 76
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
is the stressed syllable while Lahu is the unstressed syllable) whereas in the Magadha style,
stress is f xed by position at the f rst and last syllable of each phrase. The result of this study
has implication in teaching religious chanting.
1.บทน�า
ในประเทศไทย พระภิกษุฝ่ายมหานิกายจะสวดท�านองสังโยค และฝ่ายธรรมยุตจะสวดท�านอง
มคธ (Piyasilo, 1990: 46) จากข้อมูลที่ได้ค้นคว้าพบค�าอธิบายไว้ว่า การสวดท�านองสังโยค เป็นการสวด
ที่ออกเสียงเน้นตรงตัวสะกดหรืออักขระต่างๆให้ชัดเจน หากเป็นค�าครุ ให้ออกเสียงยาว ส่วนค�าลหุ ให้
ชะงักเสียงเป็นเสียงสั้น (เดชา คงศรีเมือง, 2548: 29) ส่วนการสวดท�านองมคธ จะสวดเป็นตอนๆ ในวลี
หรือประโยค (พระมหาชลทิศ จันทร์หอม, 2513: 79)
จากการสอบถามเบื้องต้นพบว่า การเรียนรู้วิธีสวดของพระภิกษุสามเณรนั้น มักอาศัยประสบการณ์
ของแต่ละรูปที่ได้จากการสังเกต การฟังและฝึกฝนสวดเอง ซึ่งวิธีการนี้อาจท�าให้มีโอกาสสวดผิดเพี้ยนได้ แต่
ในปัจจุบัน ความเจริญทางเทคโนโลยีสามารถน�าเสียงพูดของมนุษย์มาวิเคราะห์เพื่อประยุกต์ใช้ในการเรียน
ได้ ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ในแนวทางภาษาศาสตร์จนท�าให้เกิดค�าอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผล มีหลักเกณฑ์
และช่วยให้การฝึกเรียนนั้นสัมฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีการน�าความรู้ทางสัทศาสตร์และสัทวิทยา
นี้ ไปใช้วิเคราะห์ท�านองเสียงพูดและการอ่านท�านองเสนาะมาแล้ว (Tumtavitikul and Promkhunthong
2009, เสวีวร พรหมขุนทอง, 2549; อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล, 2540; Tumtavitikul, 2001)
ความรู้ทางสัทศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์คลื่นเสียงโดยตรงนั้น เรียกว่า กลสัทศาสตร์
(acoustic phonetics) (Clark & Yellop,1990: 1) ศึกษาทั้งระดับความสูง-ต�่าของเสียง (pitch) ความเข้ม
ข้นของเสียงหรือความดัง (loudness) และความยาวนาน (duration) ในแต่ละพยางค์ จากนั้น ก็สามารถใช้
ความรู้ทางสัทวิทยามาต่อยอดได้ ด้วยการสรุปและจัดเป็นโครงสร้างทางภาษา ผู้วิจัยพบว่า สัทวิทยาทฤษฎี
โครงสร้างการเน้นพยางค์ (Metrical phonology) ของ Liberman and Prince (1977) ซึ่งเกี่ยวข้องกับ
การเน้นพยางค์ในระบบค�า จะอธิบายด้วยแผนภูมิโครงสร้างบ่งชี้การเน้นพยางค์ที่สูงขึ้นไปเป็นระดับ โดย
ให้พยางค์เน้นยึดโดยกิ่งหนัก (strong node) และพยางค์ไม่เน้นยึดโดยกิ่งเบา (weak node) และจะเอียง
ไปในทิศทางของกิ่งหนัก มีสัญลักษณ์นิยมใช้คือ = ระดับกลุ่มพยางค์, W = ระดับค�า (word group),
| = กิ่งหนัก (strong node) ไว้ยึดพยางค์เน้น, \ หรือ / = กิ่งเบา (weak node) ไว้ยึดพยางค์ไม่เน้น,
= พยางค์ (syllable) สามารถสรุปการแตกแขนง (foot tree) เป็น 3 รูปแบบ (อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล,
2547: 104) ดังภาพที่ 1 คือ:
68 วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554