Page 78 -
P. 78

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์





            แบบใด (อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล, 2547: 111-112) ดังนั้น ท�านองสวด ซึ่งเป็นท�านองเสียงที่ผูกพันอยู่กับ

            ชีวิตคนไทยและพระภิกษุสงฆ์มานาน จึงสมควรน�ามาวิเคราะห์ศึกษา เพื่อค้นหาคุณลักษณะทางเสียงในมุม
            มองทางสัทศาสตร์และสัทวิทยา แต่เนื่องจากเนื้อหาของบทสวดภาษาบาลี มีทั้งส่วนที่เป็นบทร้อยกรองและ

            บทร้อยแก้ว ผู้วิจัยจึงได้คัดเลือกบทสวดที่มีชื่อว่า “ขันธปริตร” เพราะมีเนื้อหาทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองอยู่
            ภายในบทเดียวกัน สามารถศึกษาความเหมือนและความต่าง ช่วยให้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างกันได้

            นอกจากนี้ ยังพบว่า บทร้อยกรองของบทสวดขันธปริตร แต่งด้วยค�าประพันธ์ “ปัฐยาวัตร” ซึ่งเป็นประเภท
            เดียวกันกับที่อยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนของคณะสงฆ์ ระดับ ปธ.8 จึงสะดวกต่อการท�าความเข้าใจ

            และอาจเป็นประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งต่อการเรียนการสอนของคณะสงฆ์ในอนาคต

                     หากมองในทางศาสนาแล้ว ขันปริตรถือเป็นบทสวดที่มีความส�าคัญปรากฏอยู่ในกลุ่มบทสวด 7

            ต�านาน ซึ่งมาจากพระด�ารัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและมีอานุภาพคุ้มครองเป็นอย่างมาก (พุทธวรกาญจน์,
            2549:  74)  ชาวพุทธยังเชื่อว่า  บทสวดนี้มีพุทธานุภาพช่วยป้องกันไม่ให้งูพิษและสัตว์มีพิษอื่นๆ  มาท�า

            อันตรายแก่ตนได้ (พุทธวรกาญจน์, 2549: 122) โดยคณะสงฆ์จะใช้สวดโดยทั่วไปในพิธีกรรมทั้งงานมงคล
            และอวมงคลเพื่อความเป็นสิริมงคลและขจัดปัดเป่าอุปัทวันตรายทั้งหลาย

                     ผลการวิจัยที่เกิดขึ้นจึงนับเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนและฝึกสวด เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง

            ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่หนังสือและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสวด และน�าไปใช้อธิบายร่วมกับศาสตร์
            อื่น  เช่น  ศาสนา  ดนตรี  ประวัติศาสตร์  สังคมศาสตร์  เพื่อท�าให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวลึกซึ้งและกว้าง

            ขวางยิ่งขึ้น



            2. วิธีด�าเนินการวิจัย

                     2.1 การคัดเลือกผู้บอกภาษา

                     ผู้วิจัยเลือกวิเคราะห์เสียงสวดฝ่ายละ 1 วัด วัดฝ่ายมหานิกายที่คัดเลือกคือ วัดมหาธาตุยุวรา
            ชรังสฤษฎิ์  เพราะเป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา  และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสงฆ์เพื่อเป็นศูนย์กลาง

            การเรียนรู้ของคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายตั้งแต่สมัยรัชการที่ 5 (ส�านักงานแผนกธรรมมหาธาตุวิทยาลัย, 2553)
            วัดฝ่ายธรรมยุตที่คัดเลือกคือ วัดบวรนิเวศวิหาร เพราะเป็นวัดธรรมยุติกนิกายแห่งแรกของไทย จึงมีความ

            เก่าแก่มากที่สุด (วัดบวรนิเวศวิหาร, 2553) และยังเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่ส�าคัญของคณะสงฆ์ในอดีต
            โดยเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งแรกของประเทศคือ มหามกุฏราชวิทยาลัย

                     ท�านองสวดทั้ง  2  ท�านอง  น�ามาจากไฟล์เสียงที่มีการบันทึกไว้และเผยแพร่สู่สาธารณะได้

            ในท�านองสังโยคมาจากแผ่น  CD  ของห้างธรรมเจริญ  ซึ่งจัดจ�าหน่ายเทปและซีดีสวดมนต์ของคณะสงฆ์
            วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ให้แก่พระสงฆ์และบุคคลทั่วไป ส่วนท�านองมคธนั้น ได้รับการอนุเคราะห์จาก



           70   วารสารมนุษยศาสตร์  ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83