Page 79 -
P. 79

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์





              พระอาจารย์ประจ�าส�านักเรียนวัดบวรนิเวศ  ซึ่งวัดบวรนิเวศได้คัดเลือกผู้สวดและบันทึกเสียงเองเพื่อใช้ใน

              กิจการคณะสงฆ์

                       ไฟล์ทั้งสองเป็นการสวดแบบหมู่  ที่เลือกเช่นนี้เพราะในพิธีกรรมต่างๆ  พระสงฆ์จะสวดเป็นหมู่

              คณะอยู่เป็นประจ�า ถือว่าเป็นการวิเคราะห์เสียงตรงตามสภาพที่ใช้จริง

                       2.2 การคัดเลือกข้อมูล
                       ผู้วิจัยคัดเลือกบทสวด 7 ต�านาน เพราะเป็นชุดบทสวดที่ใช้สวดได้ครอบคลุม ทั้งงานมงคลและ

              อวมงคลโดยทั่วไป โดยคัดเลือกมา 1 บท ได้แก่ บทขันธปริตร เพราะมีทั้งบทร้อยกรองและร้อยแก้วรวม
              กันในบทสวดเดียว สามารถน�ามาวิจัยได้อย่างครอบคลุม นอกจากนี้ บทร้อยกรองในบทสวดขันธปริตร ยัง

              แต่งด้วยค�าประพันธ์ที่อยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนของคณะสงฆ์ ระดับ ปธ.8 จึงสะดวกต่อการท�าความ
              เข้าใจอีกทางหนึ่งด้วย


                       2.3 การคัดเลือกเครื่องมือ
                       ผู้วิจัยวิเคราะห์คลื่นเสียงด้วยโปรแกรม  PRAAT  เพราะเป็นโปรแกรมที่สะดวกต่อการใช้งาน

              วิเคราะห์ข้อมูลได้ละเอียด รวดเร็ว แสดงข้อมูลต่างๆ ในแผนภาพเดียวกันได้และนิยมใช้ในงานวิจัยต่างๆ
              จ�านวนมาก โดยใช้โปรแกรม Microsoft excel และ SPSS 11.5 มาค�านวณค่าเฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบน

              มาตรฐาน (standard deviation) หรือ (SD) และนัยส�าคัญทางสถิติ

                       2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
                       ระดับเสียงสูงต�่า และความเข้มข้นของเสียงหรือความดัง

                       วิเคราะห์ภาพรวมโดยการหาค่าเฉลี่ย (mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)
              ของระดับเสียงสูงต�่า (Pitch) และความเข้มข้นของเสียง (intensity) หรือความดัง (loudness) ซึ่งทั้งสอง

              ค่าใช้วิธีการเดียวกันคือ อันดับแรกเก็บค่า ระดับเสียงสูงต�่า และความเข้มข้นของเสียง ทุกๆ .01 วินาที
              ตั้งแต่ต้นพยางค์แรกจนถึงท้ายพยางค์สุดท้ายของบทสวดด้วยโปรแกรม PRAAT การค�านวณค่าเฉลี่ยและ

              ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ท�าด้วยโปรแกรม SPSS 11.0 จากนั้น น�าค่าทุก .01 วินาที มาหาค่าที่แตกต่างจาก
              ค่าเฉลี่ยอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติที่ .05 ด้วยการค�านวณ Z-score ผ่านโปรแกรม Microsoft excel เพื่อ

              หาลักษณะแตกต่างที่ส�าคัญ

                       ความยาวนานของเสียง

                       แยกพยางค์ตามโครงสร้าง ได้เป็น cv cvv cvc และ cvvc (c = พยัญชนะ, v = สระ) โดย
              ค�านวณค่าเฉลี่ย  (mean)  และ  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (standard  deviation)  เพื่อวิเคราะห์ความต่าง

              ระหว่างค�าครุ (พยางค์โครงสร้าง cvv cvc และ cvvc )และลหุ (พยางค์โครงสร้าง cv) แล้วจึงน�าความ





                                                          วารสารมนุษยศาสตร์  ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554  71
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84