Page 83 -
P. 83
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความยาวนานของเสียง
โครงสร้าง จ�านวน ท�านองมคธ ท�านองมคธ ท�านองสังโยค ท�านองสังโยค
พยางค์ พยางค์ ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(วินาที) (SD) (วินาที) (วินาที) (SD) (วินาที)
cv 70 0.31 0.15 0.29 0.04
cvv 81 0.5 0.18 0.6 0.08
cvc 55 0.39 0.14 0.56 0.07
cvvc 8 0.39 0.06 0.58 0.04
ทั้งสองท�านองมีลักษณะที่เหมือนกันคือ พยางค์หนัก (ครุ) ซึ่งอยู่ในโครงสร้าง cvv cvc cvvc มีความ
ยาวนานมากกว่า พยางค์เบา (ลหุ) ซึ่งอยู่ในโครงสร้าง cv และสาเหตุที่ cvvc มีความยาวนานของเสียงน้อย
กว่า cvv แต่ใกล้เคียงหรือเท่ากับ cvc เพราะในบทสวดบทนี้ cvvc มีแต่ค�าว่า “เมต” ถือว่าสอดคล้อง
กับหลักการออกเสียงภาษาปาฬิ (บาลี) ที่ วิจินตน์ ภาณุพงศ์ (2551) ระบุว่า สระเอ ในพยางค์ปิด (เช่น
“เมต”) จะออกเสียงกึ่งยาวคือสั้นกว่า สระเอ ในพยางค์เปิด (เช่น “เม”) ที่จะออกเสียงยาว ทั้งยังสอดคล้อง
กับคุณสมบัติในไวยากรณ์สากลที่ CVV > CVVC > CVC ส่วนพยางค์ที่มีความยาวแตกต่างจากค่าเฉลี่ย
ของพยางค์ในโครงสร้างเดียวกัน อย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติที่ .05 ในแต่ละท�านอง มีลักษณะดังนี้
ท�านองมคธ: พยางค์ที่มีค่าความยาวนานมากกว่าค่าเฉลี่ยของพยางค์โครงสร้างเดียวกันอย่างมีนัย
ส�าคัญทางสถิติ มักปรากฏในต�าแหน่งต้นหรือท้ายวรรค พอสรุปเป็นแนวโน้มได้ว่าใน ท�านองมคธ พยางค์
จะยาวนานเป็นพิเศษในต�าแหน่งต้นและท้ายวรรค
ท�านองสังโยค: พยางค์โครงสร้าง cv บางพยางค์ มีค่าความยาวน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของพยางค์
ในโครงสร้างเดียวกันอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ ซึ่งอาจอธิบายได้จากความสอดคล้องในการเป็นพยางค์ไม่
เน้นว่า พยางค์โครงสร้างดังกล่าว เมื่อออกเสียงแบบพยางค์ไม่เน้น จะมีโอกาสลดรูปสระและท�าให้ความ
ยาวนานของเสียงลดลงได้ (แลดเดอโฟก์, 2549: 135-136)
การสวดทั้งสองท�านอง มีจุดเด่นที่ตรงกัน คือ พยางค์ที่มีค่าความยาวนานมากกว่าค่าเฉลี่ยของ
พยางค์โครงสร้างเดียวกันอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ จะเกิดขึ้นใน 2 พยางค์สุดท้ายของบทสวดทั้งสองท�านอง
สันนิษฐานว่า การลากเสียงยาวติดกันใน 2 พยางค์สุดท้ายของบทสวดอาจเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกการจบบทสวด
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554 75