Page 87 -
P. 87
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ท�านองสังโยค
/ | | | | / | | / | |
พยางค์ [กะ ตา เม รัก ขา กะ ตา เม ปะ ริต ตา] P
เวลา(sec.) |0.30|0.56|0.61|0.55|0.55|0.31|0.59|0.53|0.34|0.52|0.50|
น�้าหนักพยางค์ - | | | | - | | - | |
ภาพที่ 12 แสดงโครงสร้างการเน้นพยางค์ในบทร้อยแก้วท�านองสังโยคตามการสวดจริง
จากภาพที่ 12 พบว่า ค�าครุ (โครงสร้าง cvv cvc cvvc) เป็นพยางค์เน้น และค�าลหุ (โครงสร้าง
cv) เป็นพยางค์ไม่เน้นจริงตามน�้าหนักพยางค์ สนับสนุนโดยค่าเวลา แต่ความยาวนานของเสียงในค�าครุทุก
โครงสร้างใกล้เคียงกัน ท�าให้สามารถจัดพยางค์เน้นได้เพียงระดับเดียวคือ ระดับกลุ่มพยางค์ ()
4.สรุปและอภิปรายผล
ผลการศึกษาทางกลสัทศาสตร์ พบว่า การสวดทั้งสองท�านองมีลักษณะเด่นที่เหมือนกันคือ มีการรักษา
ระดับเสียงสูงต�่าและความดังให้คงที่ และแสดงการเน้นพยางค์โดยท�าให้เกิดความยาวกว่าพยางค์รอบข้าง ซึ่งท�านาย
ได้ในเบื้องต้นจากน�้าหนักพยางค์และยืนยันได้ด้วยค่าเวลาในการสวดจริง นอกจากนี้ ยังสามารถสันนิษฐานได้
ว่า 2 พยางค์สุดท้ายของบทที่มีการลากเสียงยาวเพื่อเน้นพยางค์นั้น อาจเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกการจบบทสวด
ส่วนโครงสร้างการเน้นพยางค์ของ 2 ท�านอง พบว่ามีความแตกต่างกันคือ ในท�านองสังโยค
การเน้นพยางค์จะสอดคล้องกับน�้าหนักพยางค์ โดยครุ เป็นพยางค์เน้น และ ลหุ เป็นพยางค์ไม่เน้น โดยที่
ค�าครุจัดระดับการเน้นได้สูงขึ้นเพียงขั้นเดียวถึงระดับกลุ่มพยางค์
ส่วนในท�านองมคธ ส่วนใหญ่การเน้นพยางค์จะสอดคล้องกับน�้าหนักพยางค์ ยกเว้นบริเวณ
ต้นและท้ายวรรค ซึ่งถือเป็นการเน้นโดยต�าแหน่งในระดับที่แตกต่างกัน มีทั้งระดับค�า(W) วรรค(P) และ
ประโยค (S) นอกจากนี้ยังพบการสลับการเน้นพยางค์เกิดขึ้นบริเวณต้นวรรคด้วย ซึ่งในระบบการพูดนั้น
การสลับเสียง (metathesis) คือ การสลับที่ของ 2 หน่วยเสียง เพื่อให้ง่ายต่อการออกเสียง ท�าให้พยางค์
ที่ซับซ้อน ลดความซับซ้อนลง (Hall & Clements, 1985 อ้างถึงใน อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล, 2547: 58)
ส่วนสิ่งที่พบในท�านองสวดมคธนี้ คือการสลับเสียงของพยางค์ ที่พยางค์แรกของวรรคซ้าย อาจเป็น
การสลับเพื่อการเน้นที่เป็นจังหวะมากกว่าการออกเสียงให้ง่ายขึ้น สามารถสรุปความเหมือนและความต่าง
เพื่อสะดวกต่อการศึกษาได้ดังนี้
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554 79