Page 89 -
P. 89
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สาเหตุที่ผู้สวดทั้ง 2 ท�านองพยายามรักษาระดับเสียงสูงต�่าให้คงที่นั้น อาจเกิดขึ้นจากข้อบังคับ
ทางศาสนา เพราะจากข้อมูลในพระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปี 2539 พบว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงไม่อนุญาตให้พระภิกษุสวดมนต์เหมือนท�านองการขับร้องหรือร้องเพลง และแสดง
ผลเสียไว้ 5 ประการ (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539: 11) คือ:
“(1) แม้ตนเองก็ก�าหนัดในเสียงนั้น
(2) แม้ผู้อื่นก็ก�าหนัดในเสียงนั้น
(3) แม้พวกคหบดีก็ต�าหนิ
(4) เมื่อภิกษุพอใจการท�าเสียง ความเสื่อมแห่งสมาธิย่อมมี
(5) ภิกษุรุ่นหลังจะพากันท�าตาม”
สิ่งนี้อาจเป็นสาเหตุที่การสวดทั้ง 2 ท�านอง ต้องรักษาระดับเสียงสูงต�่าให้คงที่ แต่เนื่องจากท�านอง
สวดไม่ได้มีเฉพาะท�านองสังโยคและมคธ ยังมีท�านองอื่นๆ เช่น ท�านองสรภัญญะ ที่เมื่อสังเกตจากการฟังพบ
ว่ามีท่วงท�านองสูงต�่าคล้ายการขับร้อง แต่ด้วยจุดประสงค์และการได้รับอนุญาตจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นการเฉพาะ (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539: 12) จึงถือว่าท�านองดังกล่าวไม่ใช่การขับร้องเช่นกัน
การศึกษาครั้งนี้เป็นการเปิดมุมมองท�านองสวดในแนวสัทศาสตร์และทฤษฎีสัทวิทยาเฉพาะกรณี
ของ 2 คณะสงฆ์ 2 รูปแบบการสวด ยังไม่อาจกล่าวสรุปได้ว่าจะมีลักษณะการสวดเช่นนี้ทุกวัด เพราะจาก
การสัมภาษณ์ พระภิกษุต่างยอมรับว่าวัดแต่ละแห่งจะมีท�านองสวดที่ไม่เหมือนกันทีเดียวแม้จะเป็นท�านอง
เดียวกัน จึงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาต่อไปว่า ส่วนที่ต่างของแต่ละวัดนั้นอยู่ตรงไหนและโดยภาพรวมนั้นมีความ
เหมือนกันมากน้อยเพียงใด
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554 81