Page 25 -
P. 25

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               25 ถึง ร้อยละ 50 ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าเกษตรกรรายย่อยมีปัญหาเชิงพฤติกรรมในการตัดสินใจเนื่องจาก

               การซื้อประกันควรพิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตไม่ใช่ประสบการณ์ของผู้เอาประกันว่าเคยได้รับการจ่ายค่า
               สินไหมหรือไม่



                        2.3 การศึกษายางพาราล่วงหน้าในประเทศไทย


                        งานวิจัยส่วนใหญ่ของไทยจะเน้นท าการศึกษาถึงความมีประสิทธิภาพในการซื้อขายของตลาดสินค้า
               เกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยเป็นหลัก เช่น Suppanunta Romprasert (2008) ท าการศึกษาประสิทธิภาพ

               ของราคาซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลระหว่างปี

               พ.ศ. 2547-2550 ซึ่งพบว่าราคาซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดฯ มีประสิทธิภาพและสามารถน าราคา
               ซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวมาใช้เป็นตัวท านายราคาซื้อขายในตลาดส่งมอบทันทีในอนาคตได้ ขณะที่ สุพรรษา ยืน

               ยัง และอภิชาต ดะลุณเพธย์ (2554) ซึ่งศึกษาเรื่องเดียวกันโดยใช้สัญญาซื้อขายข้าวขาว 5% ล่วงหน้าพบว่า
               ราคาซื้อขายของสัญญาข้าวขาว 5% ล่วงหน้า ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากราคาในตลาดล่วงหน้าไม่ได้ส่งผ่าน

               ไปยังตลาดซื้อขายแบบส่งมอบทันที โดยสาเหตุอาจมาจากนโยบายการรับประกันราคาข้าวของภาครัฐ

               นอกจากนี้ วาทินี โชตินุชิตตระกูล และธนโชติ บุญวรโชติ (2556) ท าการศึกษาถึงการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
               ของยางแผ่นรมควันชั้น 3 เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยง โดยท าการประมาณค่าอัตราการป้องกัน

               ความเสี่ยงที่เหมาะสม (Optimal Hedge Ratio) โดยใช้ข้อมูลระหว่าง มกราคม 2551- เมษายน 2555 ซึ่งก็

               พบว่าสามารถใช้สัญญาซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3 ล่วงหน้าในตลาดฯ เพื่อท าการป้องกันความเสี่ยงได้
               อย่างไรก็ตามจากข้อมูลในอดีตที่สั้นและสภาพคล่องที่ต่ าของตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าไทย ความมี

               ประสิทธิภาพของตลาดอาจไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน


                        นอกจากงานวิจัยทางด้านการทดสอบประสิทธิภาพตลาดแล้ว มีการศึกษาที่ส ารวจทัศนคติของ

               เกษตรกรต่อตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย เช่น ชูดา แก้วละเอียด (2549) ศึกษาปัจจัยที่ท าให้
               ผู้ประกอบการยางพาราตัดสินใจประกันความเสี่ยงราคาในตลาดซื้อขายล่วงหน้า และเปรียบเทียบปัจจัยที่

               ส่งผลต่อการตัดสินใจประกันความเสี่ยงราคาระหว่างกลุ่มที่ใช้และไม่ใช้ตลาดซื้อขายล่วงหน้า โดยการส ารวจ
               ผู้ประกอบการยางพาราจากอุตสาหกรรมยางธรรมชาติ และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางเป็นจ านวน 80 คน

               ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่ใช้ตลาดซื้อขายล่วงหน้า โดยปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการ

               ตัดสินใจใช้ตลาดซื้อขายล่วงหน้าของผู้ประกอบการยางพาราได้แก่ รูปแบบสินค้าที่ผลิตของโรงงาน ระดับการ
               หลีกเลี่ยงความเสี่ยง และทัศนคติที่หลากหลาย ธุวพล ไทยบุรี (2551) ซึ่งท าการส ารวจทัศนคติของเกษตรกรผู้

               ปลูกยางพาราขนาดกลางในอ าเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จ านวน 50 ราย พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่กว่าร้อย

               ละ 72 ให้ความสนใจในการเข้ามาซื้อขายสัญญายางแผ่นรมควันล่วงหน้า แต่ปัญหาและอุปสรรคที่เกษตรกรไม่
               ซื้อขายยางแผ่นรมควันล่วงหน้าคือเรื่องของความยากในการท าความเข้าใจตัวผลิตภัณฑ์ที่มีศัพท์เทคนิคจ านวน

               มาก นอกจากนี้ ธีระพล ลาชโรจน์ และอตินุช เฉลิมพงศ์ (2554) ยังท าการส ารวจความคิดเห็นของ



                                                                                                        12
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30