Page 29 -
P. 29

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                                         บทที่ 3

                                         โครงสร้างของตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า


                       การศึกษาในส่วนนี้คณะผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อท าความเข้าใจต่อโครงสร้างตลาดซื้อขายยางพารา

               ล่วงหน้าของไทยในปัจจุบัน โดยเริ่มจากการศึกษาความเป็นมาของตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า ในหัวข้อ
               3.1 และ 3.2 โครงสร้างการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในปัจจุบัน ซึ่งจะได้กล่าวถึงผู้ที่เกี่ยวข้องใน

               ตลาดฯ รวมถึงพัฒนาการที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะผลักดันให้การซื้อขายยางพาราล่วงหน้าของไทยมีสภาพคล่อง
               และสามารถใช้เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่อาจจะท าให้

               การซื้อขายในตลาดฯ ไม่ประสบความส าเร็จตามที่คาดไว้ ข้อมูลในส่วนนี้คณะผู้วิจัยได้รวบรวมจากแหล่งข้อมูล

               สาธารณะต่างๆ และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกด้วย


               3.1 ความเป็นมาของตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในประเทศไทย


                      การซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในประเทศไทยได้เริ่มมีการซื้อขายเป็นครั้งแรกภายใต้ตลาดสินค้าเกษตร

               ล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (The Agricultural Futures Exchange of Thailand หรือ AFET) ซึ่งเป็นตลาด
               สินค้าเกษตรล่วงหน้าที่ถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าปี พ.ศ. 2542 โดยมี

               คณะกรรมการก ากับการซื้อขาย   สินค้าเกษตรล่วงหน้า (คณะกรรมการ ก.ส.ล.) เป็นผู้ก ากับดูแลการซื้อขาย

               สินค้าเกษตรล่วงหน้า โดยให้รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานกรรมการ และปลัดกระทรวงการคลัง
               ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิ

               เป็นกรรมการ


                      การซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในตลาด AFET เริ่มมีการซื้อขายจริงในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 โดย

               มีสินทรัพย์อ้างอิงคือยางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) โดยขนาดของการซื้อขายต่อสัญญาเท่ากับ 5,000 กิโลกรัม
               และกรณีที่ต้องการส่งมอบจริงจะต้องมีปริมาณการซื้อขายเท่ากับ 20,000 กิโลกรัม หรือ 20 เมตริกตันต่อหนึ่ง

               หน่วยของการส่งมอบ รายละเอียดของสัญญาซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในตลาด AFET แสดงในตารางเอกสาร
               แนบ 1 ด้านล่างนี้



                       การซื้อขายยางพาราล่วงหน้าของไทยในตลาด AFET เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดต่างประเทศที่ส าคัญๆ
               เช่น Tokyo Commodity Exchange (TOCOM) แล้วพบว่าปริมาณการซื้อขายยางพาราล่วงหน้าของไทยมี

               ปริมาณที่น้อยกว่าต่างประเทศค่อนข้างมาก จากการศึกษาของ ธิษณา ตันติวณิชชานนท์ (2554) พบว่าปริมาณ

               การซื้อขายในปี พ.ศ. 2554 มีปริมาณเท่ากับ 644,430 ตันในตลาด AFET ขณะที่ในตลาด TOCOM เท่ากับ
               13.92 ล้านตัน







                                                                                                        16
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34