Page 27 -
P. 27
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4) ฟาร์มสวนยางขนาดเล็กที่มีระบบการผลิตหลากหลาย และ 5) ฟาร์มธุรกิจสวนยางขนาดกลาง โดยก าหนด
ว่าสวนยางขนาดเล็กจะมีพื้นที่ถือครองเฉลี่ยต่ ากว่า 18.8 ไร่ การศึกษาพบว่าความเสี่ยงจากการลดลงของราคา
ยางและการเพิ่มขึ้นของราคาปัจจัยการผลิตเป็นความเสี่ยงที่ส าคัญของฟาร์มทุกประเภท เกษตรกรแต่ละ
ประเภทเลือกใช้กลยุทธ์จัดการความเสี่ยงต่างๆกัน เช่น กลยุทธ์ความหลากหลายของการผลิต การจัดการ
ตลาด การจัดการแรงงาน เป็นต้น แต่การจัดการความเสี่ยงที่ใช้ร่วมกันของฟาร์มทุกประเภท คือการลด
ค่าใช้จ่ายครัวเรือนและการเพิ่มการออม นอกจากนั้นการศึกษายังสรุปว่าความสามารถอยู่รอดของเกษตรกร
ทุกประเภทอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นฟาร์มธุรกิจสวนยางขนาดกลางที่มีความสามารถในระดับมาก
โดยสรุปแล้วการศึกษายางพาราล่วงหน้าของไทยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาความมีประสิทธิภาพของ
AFET แต่ในขณะนี้ได้เลิกด าเนินการแล้วในปี พ.ศ. 2559 ท าให้ไม่สามารถน าผลการศึกษามาใช้ในเชิงนโยบาย
ได้ ขณะนี้ได้ย้ายการซื้อขายยางพาราล่วงหน้าอยู่บน TFEX แต่มีปริมาณการซื้อขายน้อยมากและมีจ านวน
ข้อมูลน้อยไม่เพียงพอที่จะศึกษาความมีประสิทธิภาพของราคายางพาราล่วงหน้า นอกจากนั้นยังไม่มีการศึกษา
ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันความเสี่ยง โดยการใช้ตลาดยางพาราล่วงหน้าของเกษตรกรรายย่อยโดยตรง มี
เพียงแต่การศึกษาเกษตรกรรายกลาง ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างที่จ ากัดทั้งขนาดและพื้นที่ครอบคลุม ตลอดจน
การศึกษาที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของเกษตรกรนั้นเป็นการศึกษาเกี่ยวกับกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง
โดยทั่วไป
2.4 ข้อสรุปจากการทบทวน
บทนี้ทบทวนการศึกษาที่เกี่ยวข้อง 3 หัวข้อหลักด้วยกันคือ พลวัตของราคาโภคภัณฑ์ล่วงหน้า (Price
Dynamics) พฤติกรรมการบริหารความเสี่ยงของเกษตรกร และการศึกษาตลาดยางพาราล่วงหน้าของไทย ใ น
ระยะแรกงานวิจัยทางด้านพลวัตของราคาโภคภัณฑ์ล่วงหน้า ให้ความส าคัญกับความมีประสิทธิภาพของตลาด
ที่ราคามีการสะท้อนข้อมูลข่าวสาร และความสัมพันธ์ทางทฤษฏีระหว่างราคาโภคภัณฑ์ในอนาคตและราคาเงิน
สด ถึงแม้ว่าจะมีงานวิจัยจ านวนมากและการศึกษาด้วยวิธีการที่หลากหลาย แต่ยังไม่สามารถสรุปได้อย่าง
ชัดเจนว่าตลาดโภคภัณฑ์ล่วงหน้ามีประสิทธิภาพหรือไม่ ทั้งนี้ความมีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับชนิดของโภคภัณฑ์
ตลาดที่ซื้อขาย ตลอดจนเวลาที่ศึกษา ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของผู้ใช้ตลาด (Market Participants)
ที่มีสัดส่วนของนักลงทุนสถาบันทางการเงิน เช่น บริษัทจัดการสินทรัพย์และกองทุนเพิ่มขึ้น ท าให้ตลาดโภค
ภัณฑ์ล่วงหน้ามีลักษณะเป็นตลาดการเงิน (Financialization) งานวิจัยทางด้านนี้จึงศึกษาทางด้านผลตอบแทน
และความเสี่ยงของตลาดโภคภัณฑ์ล่วงหน้า ตลอดจนผลกระทบของการเป็นตลาดการเงิน (Financialization)
ที่อาจท าให้เกิดความผันผวนของราคาโภคภัณฑ์ที่เกินจริงได้ เนื่องจากนักลงทุนเหล่านี้มุ่งหวังก าไรในการซื้อ
ขายมากกว่าผู้ใช้ตลาดจากภาคอุตสาหกรรมที่ท าธุรกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยง อย่างไรก็ตามการศึกษาที่มีอยู่
ในขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน
14