Page 22 -
P. 22
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทางด้านนักวิชาการเช่น Stoll and Whaley (2010) และ Irwin and Sauders (2012) มีความเห็นว่าไม่มี
หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว Cheng and Xiong (2014) ทบทวนข้อโต้แย้ง
ระหว่างแนวคิดของนักการเมืองและนักวิชาการ และมีความเห็นว่าการ Financialization สามารถส่งผล
กระทบต่อบทบาทของตลาดซื้อขายล่วงหน้าทางด้าน Risk Sharing และ Price Discovery ได้ ล่าสุด Kim
(2015) ศึกษาผลกระทบของการเก็งก าไรที่เกิดจาก Financialization และสรุปว่าผู้ค้าเก็งก าไร (Speculators)
ไม่ได้ท าให้เกิดความไม่มีเสถียรภาพของความผันผวนของสินค้าโภคภัณฑ์ แต่การซื้อขายกลับช่วยท าให้ความ
ผันผวนลดน้อยลง ราคาสะท้อนข้อมูลข่าวสารได้ดีขึ้น และยังช่วยเพิ่มสภาพคล่องของตลาดอีกด้วย
นอกจากนั้น Knittel and Pindy (2016) ได้พัฒนาแบบจ าลองดุลยภาพ และพบว่าภายใต้สมมติฐานที่มีเหตุผล
ของความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทานในตลาดล่วงหน้าน้ ามัน การเก็งก าไรไม่ได้ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ของราคาที่เกินจริง
โดยสรุป ถึงแม้ว่าการมีประสิทธิภาพของตลาดโภคภัณฑ์ล่วงหน้าเป็นพื้นฐานที่ส าคัญส าหรับบทบาท
ของตลาดในการให้ข้อมูลข่าวสารที่สะท้อนถึงราคาโภคภัณฑ์ในอนาคตและเป็นกลไกในการป้องกันความเสี่ยง
แต่การศึกษาเชิงประจักษ์ไม่อาจสามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่าตลาดมีประสิทธิภาพหรือไม่ นอกจากนั้นข้อ
ถกเถียงเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของตลาดโภคภัณฑ์ล่วงหน้าที่มีลักษณะเป็นตลาด
การเงิน (Financialization) ที่ท าให้เกิดความผันผวนส่วนเกินของราคาโภคภัณฑ์ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน
2.2 พฤติกรรมการบริหารความเสี่ยงของเกษตรกร
ถึงแม้ว่าเกษตรกรรายย่อยน่าจะเป็นผู้ที่ใช้ตลาดซื้อขายล่วงหน้าในการบริหารความเสี่ยงทางด้านราคา
เนื่องจากพวกเขาเหล่านั้นได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของราคาผลผลิตโดยตรง แต่หลักฐานจาก
การศึกษาทางวิชาการ เช่น Banerjee and Duflo (2007) และ Banerjee (2013) พบว่าเกษตรกรในประเทศ
ที่ก าลังพัฒนามีการบริหารความเสี่ยงค่อนข้างน้อย ทั้งๆที่เกษตรกรเหล่านี้มักได้รับการอุดหนุนจากทางการ
สาเหตุประการหนึ่งอาจเนื่องมาจากการที่ราคา (Price) และผลผลิต (Yield) ทางการเกษตร มีความสัมพันธ์กัน
ในเชิงลบ จึงเป็นการป้องกันความเสี่ยงตามธรรมชาติ (Natural Hedge) อยู่แล้วบางส่วน การศึกษาของ
OECD (2011) พบว่าความผันผวนของรายได้หรือความเสี่ยงทางการเกษตรอาจสามารถลดลงได้จากการหัก
กลบลบกัน (Offsetting) ของราคาและปริมาณผลผลิต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของราคาวัตถุดิบและราคา
ผลผลิต ซึ่งความเสี่ยงที่ลดลงโดยธรรมชาติ (Natural Hedge) นี้มีสัดส่วนค่อนข้างสูงและใกล้เคียงกับการลด
ความเสี่ยงโดยการกระจายความเสี่ยง (Diversification)
นอกจากนั้น การที่เกษตรกรไม่บริหารจัดการความเสี่ยง (เช่น การท าประกันภัย หรือการใช้ตลาด
ล่วงหน้า) อาจเนื่องมาจากเกษตรกรขาดความรู้และทักษะทางการเงิน (Financial Literacy) ถึงแม้ว่าการ
ทบทวนงานวิจัยที่ผ่านมาไม่พบการศึกษาเกี่ยวกับความรู้ทางการเงินและการใช้ตลาดล่วงหน้าโดยตรง แต่มี
การศึกษาจ านวนมากที่เกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อประกันภัยพืชผล หรือการใช้ผลิตภัณฑ์บริการทางการเงิน ผล
9