Page 26 -
P. 26
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยางพาราไทย โดยใช้ข้อมูลจ านวน 21 บริษัท ที่ได้ตอบแบบสอบถามกลับมาพบว่า
การซื้อขายยางแผ่นรมควันล่วงหน้าจะใช้กันเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและใหญ่เท่านั้น นอกจากนั้นการ
ใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อการบริหารความเสี่ยงดังกล่าวยังมีสัดส่วนที่น้อยเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นเมื่อเทียบ
กับธุรกรรมการซื้อขายทั้งหมดของผู้ประกอบการ อีกทั้งผู้ประกอบการดังกล่าวยังนิยมซื้อขายสินค้าเกษตร
ล่วงหน้าในตลาดต่างประเทศมากกว่าตลาดล่วงหน้าของไทย เนื่องจากมีสภาพคล่องในการซื้อขายที่สูงกว่า
การศึกษาเกี่ยวกับการส่งผ่านราคาและความผันผวนของราคาจากตลาดสินค้ายางพาราล่วงหน้า
เช่น ธเนศวร์ โตระจิตต์ (2549) วิเคราะห์ผลกระทบของการจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
ต่อความผันผวนของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดเงินสด พบว่าการจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่ง
ประเทศไทยไม่ได้ก่อให้เกิดการส่งผ่านความผันผวนต่อการเปลี่ยนแปลงของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ใน
ตลาดเงินสด ธิษณา ตันติวณิชชานนท์ (2554) ศึกษาการส่งผ่านราคายางล่วงหน้า (ผลกระทบของการ
เปลี่ยนแปลงของราคายางพาราล่วงหน้าจากตลาดหนึ่งสู่ตลาด อื่น ๆ) ในตลาดยางพาราล่วงหน้า 5 ตลาด
ได้แก่ประเทศจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินเดีย และไทย ในช่วงเวลาปี 2547 – 2554 ซึ่งผลการศึกษาพบว่าตลาด
ยางพาราล่วงหน้าประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์เป็นตลาดที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาในตลาดอื่น ๆ
รวมถึงตลาดตนเองมากที่สุด ส่วนตลาดยางพาราล่วงหน้าประเทศจีนเป็นตลาดที่ได้รับผลกระทบของการ
เปลี่ยนแปลงราคาจากตลาดอื่นน้อยที่สุด ส าหรับประเทศไทย ถึงแม้ว่าเป็นประเทศที่มีการผลิตและส่งออก
ยางพารามากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก ตลาดยางพาราล่วงหน้าในประเทศไทยกลับเป็นตลาดที่ได้รับ
ผลกระทบจากตลาดล่วงหน้าอื่นในสัดส่วนที่สูง และเป็นหนึ่งในตลาดที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของ
ราคายางพาราล่วงหน้าในตลาดอื่น ๆ น้อยที่สุด กิตติพศ หวังรัตนภักดี และเรวัตร ธรรมาอภิรมย์ (2558)
ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผันผวนของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศ
ไทย พบว่าความผันผวนของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ใน ตลาด AFET มีความสัมพันธ์ทางบวกกับปริมาณ
การซื้อขาย ความผันผวนของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดกลางยางพาราสงขลา ความผันผวนของอัตรา
แลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และความผันผวนของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ใน ตลาด TOCOM
การศึกษาเหล่านี้อาจชี้ให้เห็นว่าตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าของไทยไม่ได้มีบทบาทในการส่งผ่านข้อมูลข่าวสาร
แต่กลับเป็นตลาดที่รับผลกระทบจากตลาดอื่น
ส าหรับประเด็นทางด้านความเสี่ยงของการท าธุรกิจและการปลูกยางพารา พิชอบ ช่วยพิทักษ์
(2548) ศึกษาเรื่องปัจจัยเสี่ยงในการท าธุรกิจซื้อขายยางพาราของตลาดยางพาราในจังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยการส ารวจกลุ่มพ่อค้าและร้านค้ายางพาราจ านวน 100 ตัวอย่าง พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่ส าคัญคือราคา
ยางพารา รองลงมาเป็นสภาพเศรษฐกิจ และปริมาณการผลิตยางพาราที่มากขึ้น ไชยยะ คงมณี และอรอนงค์
ลองพิชัย (2559) ศึกษาการรับรู้ความเสี่ยงและกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงของเกษตรกรสวนยางในภาคใต้
(จังหวัดสงขลาและพัทลุง) โดยแบ่งครัวเรือนเกษตรกรออกเป็น 5 ประเภทตามขนาดของสวนยางและการท า
ธุรกิจคือ 1) ฟาร์มสวนยางขนาดเล็กมาก 2) ฟาร์มสวนยางขนาดเล็ก 3) ฟาร์มเจ้าของที่ดินสวนยางขนาดเล็ก
13