Page 28 -
P. 28

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                        การทบทวนการศึกษาพฤติกรรมในการบริหารความเสี่ยงของเกษตรกร การศึกษาที่มีอยู่ส่วนใหญ่

               เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อประกันภัยของเกษตรกร ซึ่งสามารถน ามาอนุมานเทียบเคียงกับพฤติ
               กรรมการบริหารความเสี่ยงโดยการใช้ตลาดโภคภัณฑ์ล่วงหน้าได้ การศึกษาเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า 1) ราคาเบี้ย

               ประกันมีความส าคัญมากต่อการตัดสินใจของเกษตรกร ดังนั้นนโยบายที่จะให้เกษตรกรรายย่อยเข้ามามีส่วน

               ร่วมในตลาดล่วงหน้าภาครัฐจ าเป็นต้องมีกลไกที่ช่วยลดต้นทุนทางด้านธุรกรรมในการซื้อขาย เช่น การวางเงิน
               ประกัน (Margin) และการติดตามสถานะของการซื้อขาย ซึ่งอาจท าได้โดยการรวมกันของเกษตรกรรายย่อย

               หรือตั้งเป็นหน่วยงานกลางที่บริหารการซื้อขายและน าผลก าไรไปชดเชยแก่เกษตรกร ในช่วงที่ราคายางต่ า
               มากๆแทนการน าเงินงบประมาณไปชดเชยเพียงอย่างเดียว 2) ความรู้ทักษะทางการเงินและความเข้าใจ

               ผลิตภัณฑ์ มีผลต่อการตัดสินใจของเกษตร ดังนั้นการให้ความรู้จึงเป็นเรื่องส าคัญในการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้

               ตลาดยางพาราล่วงหน้า ถึงแม้ว่าทาง TFEX และหน่วยงานภาครัฐได้มีการด าเนินการทางด้านนี้อยู่แล้ว แต่ยัง
               ขาดการประเมินผลของโครงการที่มีประสิทธิภาพ การให้ความรู้ทางการเงินที่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมี

               ความละเอียดอ่อน ดังนั้นเพียงแต่ให้การอบรมอาจไม่เพียงพอในการเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรรายย่อยได้
               3) สภาพคล่องเป็นปัจจัยที่ส าคัญของเกษตรกรรายย่อย การใช้ยางพาราล่วงหน้าในการป้องกันความเสี่ยงมี

               กระบวนการ Mark-to-Market ซึ่งเกษตรกรจ าเป็นต้องมีสภาพคล่องส ารองหากราคายางเปลี่ยนแปลงใน

               ทิศทางที่ท าให้เกิดการขาดทุน ดังนั้นจะเห็นได้ว่ายางพาราล่วงหน้ามีลักษณะที่ขัดกับความต้องการของ
               เกษตรกร ซึ่งส่วนใหญ่ขายยางถ้วย ดังนั้นถ้าต้องการให้เกษตรกรใช้ยางพาราล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยง

               อาจต้องมีการรวมกลุ่มกันของเกษตรกรเพื่อมีกองทุนไว้ส าหรับการจัดการสภาพคล่อง 4) เครือข่ายทางสังคม

               (Social Network) และความเชื่อถือ (Trust) มีผลต่อพฤติกรรมของเกษตรกร ดังนั้นการจัดการความเสี่ยง
               ตลอดจนการให้ความรู้ต่างๆ ควรท าผ่านการรวมกลุ่มกันของเกษตรกร เช่น สหกรณ์การเกษตรที่มีอยู่ในขณะนี้


                        ท้ายสุดการศึกษาเกี่ยวกับยางพาราล่วงหน้าของไทย ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาทางด้านประสิทธิภาพ

               ตลาด AFET แต่ในขณะนี้ได้เลิกด าเนินการแล้วในปี พ.ศ. 2559 และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่ง

               จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2556) ท าการศึกษาเพื่อพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรโดยใช้กลไกตลาดสินค้าเกษตร
               ล่วงหน้า AFET ส่วนการศึกษาที่ส ารวจความคิดเห็นของผู้ใช้ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้ามักเน้นการ

               ป้องกันความเสี่ยงของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ มีเพียงการศึกษาเดียวที่ส ารวจความคิดเห็นของเกษตรกร
               ขนาดกลางในช่วงเริ่มต้นของการก่อตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างที่จ ากัดทั้งขนาดและพื้นที่

               ครอบคลุม การศึกษาที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของเกษตรกรนั้นเป็นการศึกษาเกี่ยวกับกลยุทธ์การ

               บริหารความเสี่ยงโดยทั่วไป จากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่ายังขาดการศึกษาการใช้ตลาดล่วงหน้า
               จากมุมมองของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริม

               การมีส่วนร่วมของเกษตรกร











                                                                                                        15
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33