Page 24 -
P. 24

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               เบี้ยประกัน แต่ปัจจัยทางด้านราคานี้ยังไม่เพียงพอส าหรับการอธิบายอัตราการซื้อประกันที่ต่ าของเกษตรกรใน

               อินเดีย ปัจจัยอื่นที่มีความส าคัญต่อการซื้อประกันพืชผลของเกษตรกรยังได้แก่ ทักษะทางการเงิน สภาพคล่อง
               ตลอดจนความเชื่อถือ (Trust) ของผู้รับประกัน เช่นเดียวกับ Cai et al. (2009) ที่พบว่าความเชื่อถือ (Trust)

               เป็นปัจจัยส าคัญในการซื้อประกันภัยของเกษตรกรในประเทศจีน กล่าวคือ ถ้าผู้ขายประกันเป็นภาครัฐจะเพิ่ม

               ความน่าจะเป็นในการที่เกษตรกรตัดสินใจซื้อประกัน


                        งานวิจัยในระยะหลังได้ให้ความส าคัญของบทบาทของเครือข่ายทางสังคม (Social Networks) กับ
               การให้ความรู้ทางการเงินและการตัดสินใจซื้อประกัน เนื่องจากการตัดสินใจทางการเงินเป็นเรื่องที่ค่อนข้าง

               ยุ่งยากและซับซ้อน เครือข่ายทางสังคมอาจช่วยให้เกิดการเรียนรู้ โดยการกระจายข้อมูลข่าวสารและการ

               ช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา หรือการทราบการตัดสินใจของคนอื่นอาจส่งผลต่อการตัดสินใจของตนเอง Gine et
               al. (2013) พบว่าการให้ความรู้ทางการเงินจะมีประสิทธิภาพต่อการตัดสินใจซื้อประกันของเกษตรกรที่อยู่ใน

               เครือข่ายทางสังคม Cai et al. (2015) พบว่าเครือข่ายทางสังคมมีผลต่อการกระจายความรู้ทางการเงินที่ท าให้
               อัตราการท าประกันภัยเพิ่มขึ้น ความสัมพันธ์ของการท าประกัน ความรู้ทางการเงินและเครือข่ายทางสังคมนี้มี

               ความส าคัญต่อการออกแบบการให้ความรู้ทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ โดยการใช้เครือข่ายทางสังคมเป็นกลไก

               ในการกระจายความรู้ซึ่งสามารถประหยัดต้นทุนของการให้ความรู้ทางการเงินได้


                        ปัญหาเชิงพฤติกรรม (Behavioral Aspect)


                        การตัดสินใจซื้อประกันของเกษตรกรยังอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านพฤติกรรม การศึกษาหลายชิ้น

               แสดงให้เห็นว่า คนเรามีการตัดสินใจทางการเงินที่ผิดพลาด เช่น Calvet et al. (2007 2009)  Agarwal et
               al. (2009) และ Campbell et al. (2011) การตัดสินใจทางการเงินที่ผิดพลาดนั้นอาจมีสาเหตุจากการขาด

               ทักษะทางการเงิน หรือจากปัจจัยทางด้านพฤติกรรมความล าเอียงในกระบวนความคิด (Cognitive Biases)

               เช่น การไม่ชอบความสูญเสีย (Loss Aversion) หรือความไม่ชัดเจน (Ambiguity) การให้ความส าคัญกับ
               ปัจจุบัน (Overweighting the Present) การตั้งกรอบในการตัดสินใจที่แคบเกินไป (Narrow Framing) เป็น

               ต้น ซึ่งปัจจัยทางด้านพฤติกรรมนี้มักมีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษา เป็นผลท าให้เกษตรกรรายย่อยตัดสินใจ
               ไม่ซื้อประกันเนื่องจากปัญหาความล าเอียงในกระบวนความคิด (Cognitive Biases) เพราะเกษตรกรเหล่านั้นมี

               การศึกษาที่ค่อนข้างต่ า ตลอดจนการด าเนินชีวิตที่ไม่สามารถใช้กระบวนความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                                   6
               (Cognitive Overload)  การศึกษาของ Cole, Stein, and Tobacman (2014) ใช้ข้อมูล Panel Data ของ
               เกษตรกรในอินเดียถึง 7 ปี พบว่าการซื้อประกันมีความอ่อนไหวต่อการได้รับค่าสินไหมทดแทนในอดีต การ

               ได้รับค่าสินไหมเพียงเล็กน้อย  (เท่ากับค่าแรงประมาณ 5 วัน) สามารถเพิ่มโอกาสในการซื้อประกันได้ถึงร้อยละ




               6  เนื่องจากเกษตรกรรายย่อยที่มีรายได้น้อยต้องหาเลี้ยงชีพวันต่อวันท าให้มีผลต่อการตัดสินใจที่มีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ได้ ดูการศึกษา เช่น
               Mani et al. (2013) และ Schilbach et al. (2016) เป็นต้น


                                                                                                        11
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29