Page 21 -
P. 21
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้าในกลุ่มของน้ ามันมีประสิทธิภาพมากกว่าโภคภัณฑ์ล่วงหน้าทางการเกษตร โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งปศุสัตว์ (Livestock) ล่วงหน้า การศึกษาเหล่านี้อาจสรุปได้ว่า ตลาดโภคภัณฑ์ล่วงหน้ามีประสิทธิภาพ
หรือไม่นั้นยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของโภคภัณฑ์ ตลาดที่ซื้อขาย ตลอดจนช่วงเวลา
ที่ศึกษา
ผลตอบแทนและความเสี่ยงของโภคภัณฑ์ล่วงหน้า
งานวิจัยในช่วงหลังที่เกี่ยวกับโภคภัณฑ์ล่วงหน้ามักสะท้อนมุมมองของการลงทุน การศึกษาเหล่านี้
ส่วนใหญ่จึงให้ความส าคัญทางด้านคุณสมบัติของผลตอบแทน (Return Characteristics) และค่าชดเชยความ
เสี่ยง (Risk Premium)ของโภคภัณฑ์ล่วงหน้า เช่น Gorton and Rouwenhorst (2006) ศึกษาผลตอบแทน
การลงทุนของสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า และพบว่าผลตอบแทนปรับด้วยความเสี่ยงที่พิจารณาจาก Sharpe
Ratio ของสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่แตกต่างจากหุ้นสามัญ Gorton et al. (2013) ทบทวนพฤติกรรมด้านราคา
ผลตอบแทน และความสัมพันธ์ต่างๆ ทางทฤษฎีของโภคภัณฑ์ล่วงหน้า 31 โภคภัณฑ์ในระยะยาวตั้งแต่ปี ค.ศ.
1971-2010 พบว่าพฤติกรรมและคุณสมบัติต่างๆของราคาล่วงหน้าส่วนใหญ่เป็นไปตามที่คาดไว้ Bhardwaj et
al. (2016) ศึกษาสหสัมพันธ์ของผลตอบแทนระหว่างสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้าด้วยกันเองและความสัมพันธ์
ระหว่างสินค้าโภคภัณฑ์และหุ้นสามัญ พบว่าสหสัมพันธ์ของผลตอบแทนได้เพิ่มขึ้น หลังจากวิกฤตการณ์ทาง
การเงินปี ค.ศ.2007
นอกจากนั้นการศึกษาจ านวนหนึ่งให้ความส าคัญกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาด
สินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้าที่ผู้ใช้ตลาด (Market Participants) ส่วนใหญ่กลายเป็นนักลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
นักลงทุนสถาบันประเภทกองทุนจัดการสินทรัพย์ แทนที่จะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมนั้นๆ เช่น ผู้ผลิตที่
ใช้โภคภัณฑ์เป็นวัตถุดิบ หรือผู้ส่งออกโภคภัณฑ์ เนื่องจากนักลงทุนเหล่านี้มักเน้นการท าก าไรเป็นหลัก จึงอาจ
ท าให้ความสัมพันธ์ระหว่างตลาดล่วงหน้าและภาคการผลิตจริงมีการเปลี่ยนแปลงและสร้างความผันผวนต่อ
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้ เช่น Rouwenhorst and Tang (2012) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อขายของผู้ผลิตสินค้า
และผู้บริหารกองทุน (Money Manager) แต่ไม่สามารถสรุปได้ว่ากลยุทธ์การซื้อขายของผู้บริหารกองทุนท าให้
เกิดความผันผวนของราคาโภคภัณฑ์ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
ประเด็นของผลกระทบที่เกิดจากการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นในตลาดโภคภัณฑ์ล่วงหน้าเป็นเรื่องที่ได้รับ
การโต้แย้งกันอย่างกว้างขวาง โดยทางนักการเมืองเชื่อว่าการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุนในตลาดล่วงหน้า
จะเป็นการท าให้ตลาดโภคภัณฑ์ล่วงหน้ากลายเป็นตลาดการเงิน (Financialization) ท าให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงของราคาโภคภัณฑ์ที่สูงเกินจริง (Bubbles) และส่งผลเสียต่อภาคเศรษฐกิจ (Masters 2008) แต่
4
4 ตัวอย่างเช่น ราคาน้ ามันไม่เคยเกิน $40 ต่อบาร์เรล จนกระทั่งกลางปี ค.ศ.2004 แต่ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2008 มีราคาสูงสุดที่ $145 และ
ราคาได้ตกลงต่ ากว่า $30 ในปี ค.ศ.2016 เป็นต้น ราคา Wheat เพิ่มขึ้นจาก $4 ต่อ Bushel ต้นปี ค.ศ.2007 เป็น $12 ในต้นปี 2008 และลด
กลับมาเป็นประมาณ $4 ในปี ค.ศ. 2009 (US Subcommittee 2009)
8