Page 19 -
P. 19
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 2
ทบทวนเอกสารเชิงสังเคราะห์
โภคภัณฑ์ล่วงหน้า (Commodity Futures) ตามหลักการแล้วมีบทบาทส าคัญต่อระบบเศรษฐกิจ
เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สามารถท าให้หน่วยเศรษฐกิจ/ธุรกิจลดความผันผวนของราคาสินค้าตลอดจนปัจจัย
การผลิตและวัตถุดิบได้ ซึ่งส่งผลให้ภาคการผลิตมีเสถียรภาพ ส าหรับประเทศก าลังพัฒนาที่ภาคเกษตรกรรมมี
ความส าคัญ นักวิชาการตลอดจนหน่วยงานของภาครัฐมักมีความคาดหวังว่าเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรราย
ย่อยจะใช้ตลาดล่วงหน้าสินค้าเกษตรในการป้องกันความเสี่ยงทางด้านราคาผลผลิต เนื่องจากเกษตรกร
เหล่านั้นมีส่วนเปิดกับความเสี่ยง (exposure) โดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงของราคาผลผลิต จึงควรโอนย้าย
ความเสี่ยงให้กับผู้อื่นที่สามารถรับความเสี่ยงได้ดีกว่าในตลาดซื้อขายล่วงหน้า เช่น นักเก็งก าไรหรือนักลงทุน
ประเภทสถาบันต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาทางด้านพฤติกรรมการบริหารความเสี่ยงของเกษตรกร
รายย่อยพบว่ามีความซับซ้อนและมักไม่เป็นไปตามที่คาดไว้
จากความส าคัญดังกล่าวของโภคภัณฑ์ล่วงหน้าจึงมีงานศึกษาทางวิชาการที่เกี่ยวกับโภคภัณฑ์ล่วงหน้า
ค่อนข้างมากในประเด็นต่างๆที่หลากหลาย เนื่องจากการวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเข้าใจพฤติกรรม
การป้องกันความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยโดยใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า การทบทวน
เอกสารการวิจัยจะเลือกทบทวนใน 3 หัวข้อหลักด้วยกันดังนี้คือ ในส่วนที่ 2.1 ทบทวนพลวัตของราคาโภค
ภัณฑ์ล่วงหน้า (Price Dynamics) โดยทั่วไปไม่จ ากัดเฉพาะยางพารา เพื่อให้เห็นภาพรวมของการศึกษาโภค
ภัณฑ์ล่วงหน้า ในส่วนที่ 2.2 ทบทวนการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารความเสี่ยงของเกษตรกร ในส่วนที่
2.3 จะทบทวนการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับตลาดยางพาราล่วงหน้าของไทย และส่วนที่ 2.4 เป็นข้อสรุป
2.1 พลวัตราคาสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า (Price Dynamics)
การที่สินค้าโภคภัณฑ์มีความส าคัญในระบบเศรษฐกิจทั้งทางด้านการให้ข้อมูลข่าวสารและเป็น
ทางเลือกในการลงทุน ท าให้พลวัตของราคาโภคภัณฑ์ล่วงหน้าได้รับความสนใจและศึกษาจากนักวิชาการ
โดยเฉพาะทางด้านความมีประสิทธิภาพของตลาดโภคภัณฑ์ล่วงหน้า (Market Efficiency) ซึ่งเป็นคุณสมบัติ
พื้นฐานของราคาที่สะท้อนข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้อง ที่ท าให้ตลาดโภคภัณฑ์ล่วงหน้าสามารถน าไปใช้ใน
การจัดการความเสี่ยงทางด้านราคาได้ นอกจากนั้นเมื่อไม่นานนี้ ตลาดโภคภัณฑ์ล่วงหน้ายังเป็นสินทรัพย์
ทางเลือกที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนประเภทสถาบัน ซึ่งการซื้อขายของนักลงทุนเหล่านี้ในตลาดล่วงหน้า
อาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และยังอาจท าให้คุณสมบัติความสัมพันธ์
พื้นฐาน (Parity) ของราคาล่วงหน้าและเงินสดไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ ตลอดจนเกิดความผันผวนของราคา
โภคภัณฑ์ที่เกินจริงได้ ซึ่งเป็นประเด็นที่มีการศึกษาทางวิชาการ
6