Page 15 -
P. 15

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               ต้องมีการแก้ปัญหาในเรื่องต้นทุนธุรกรรม (Transaction Costs) สภาพคล่อง และความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์

               หรือบริการ ดังนั้นความคาดหวังว่าจะให้เกษตรกรรายย่อยใช้ตลาดซื้อขายล่วงหน้าเป็นเครื่องมือบริหารความ
               เสี่ยงจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากผลิตภัณฑ์ซื้อขายล่วงหน้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขนาดและระยะเวลาของสัญญาเป็น

               มาตรฐาน (Standardized Product) และมีกลไกในการ Mark-To-Market ซึ่งไม่เหมาะสมกับเกษตรกรราย

               ย่อย ทางออกวิธีหนึ่งอาจใช้แนวคิดของ Zant (2001) ซึ่งมีองค์กรกลางที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับ
               เกษตรกรและองค์กรกลางนี้จะใช้ตลาดซื้อขายล่วงหน้าในการป้องกันความเสี่ยงอีกทีหนึ่ง ซึ่งถ้าแนวคิดนี้

               สามารถด าเนินการได้จะช่วยท าให้เกษตรกรรายย่อยสามารถใช้เครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงโดยกลไกของ
                                                                                    2
               ตลาดได้ ซึ่งในที่สุดจะช่วยลดภาระทางด้านงบประมาณในการช่วยเหลือของรัฐบาล  และช่วยให้มีสภาพคล่อง
               ของตลาดล่วงหน้าของไทยได้ แต่การประเมินความเป็นไปได้ของแนวทางนี้จ าเป็นต้องเข้าใจ

               พฤติกรรมการบริหารความเสี่ยงของเกษตรกรรายย่อยก่อน


                       วัตถุประสงค์ของการศึกษา


                       โครงการวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างปัจจุบันของการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าของ

               ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของไทย (TFEX) นอกจากนี้ยังจะได้ท าการทบทวนการศึกษาความสัมพันธ์ของ
               ราคายางพาราเงินสดไทยและราคายางพาราล่วงหน้าในตลาดต่างประเทศว่าสามารถเป็นเครื่องมือทางเลือกใน

               การป้องกันความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยได้หรือไม่ เนื่องจากในขณะนี้การซื้อขายยางพารา

               ล่วงหน้าไทยของตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) ยังมีสภาพคล่องไม่เพียงพอ และข้อมูลยางพาราล่วงหน้า
               ในอดีตของตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) ไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้เนื่องจากตลาด

               AFET ได้ปิดด าเนินการไปแล้ว และที่ส าคัญวัตถุประสงค์หลักของการศึกษานี้คือการศึกษาน าร่องเพื่อให้ทราบ
               พฤติกรรมและความต้องการในการป้องกันความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยโดยใช้ตลาดซื้อขาย

               ยางพาราล่วงหน้าในปัจจุบัน คณะผู้วิจัยคาดหวังว่าผลการศึกษาในงานวิจัยครั้งนี้ จะท าให้เข้าใจถึงปัญหาและ

               อุปสรรคของการพัฒนาตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้ามากขึ้น ซึ่งจะไปสู่การที่ภาครัฐสามารถก าหนดนโยบาย
               มาตรการหรือเครื่องมือที่เหมาะสมในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยในการบริหารความเสี่ยง

               จากความผันผวนของราคายางพารา ซึ่งสามารถสรุปวัตถุประสงค์ที่ส าคัญของโครงการวิจัยได้ดังนี้


                         - ศึกษาโครงสร้างเบื้องต้นของผู้ใช้ตลาดซื้อขายล่วงหน้ายางพารา


                         - ศึกษาการสะท้อนข้อมูลข่าวสาร (Price Informativeness) ของราคายางพาราล่วงหน้า







               2  ตัวอย่างเช่น โครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง
               ผู้มีเอกสารสิทธิ์ โดยให้เงินช่วยเหลือ 1,500 บาท/ไร่ (ไม่เกิน 15 ไร่/ครัวเรือน) แก่เจ้าของ สวนยาง/ผู้เช่าสวนยาง และคนกรีดยาง รวมเป็นเงินถึง
               4,911,174,450 บาท (ข่าวสารการยางแห่งประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 4 มีนาคม 2559)

                                                                                                         2
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20