Page 16 -
P. 16
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- ศึกษาพฤติกรรม และความต้องการการป้องกันความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อย
ตลอดจนเสนอแนะกลไกที่เป็นไปได้ในการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าที่เป็นประโยชน์ต่อ
ระบบยางพาราของประเทศไทย
ขอบเขตการศึกษา
โดยการศึกษามีขอบเขตดังต่อไปนี้
- การศึกษาโครงสร้างเบื้องต้นของผู้ใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า เน้นการสัมภาษณ์
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยางพารา ได้แก่ บริษัทผู้ส่งออกยางพารา และบริษัทผู้ใช้ยางพารา
เป็นวัตถุดิบ ส าหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ได้แก่
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการยางแห่งประเทศไทย
- การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างราคายางพาราล่วงหน้ากับราคาเงินสดจะใช้ข้อมูลจากตลาด
ซื้อขายล่วงหน้าจากต่างประเทศ ได้แก่ TOCOM, SICOM และ SHFE เนื่องจากไม่สามารถเข้าถึง
ข้อมูลราคายางพาราล่วงหน้าของไทยในอดีตได้เพียงพอ (ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศ
ไทยอยู่ระหว่างการช าระราคา) และความสัมพันธ์ดังกล่าวไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของการศึกษานี้
- การส ารวจพฤติกรรมการบริหารความเสี่ยงของเกษตรผู้ปลูกยางพารารายย่อยครอบคลุม
เกษตรกรผู้ขายน้ ายางดิบ, ยางถ้วย และยางแผ่นรมควันในพื้นที่ 3 ภาค คือ ภาคตะวันออก, ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
- การเสนอแนะกลไกที่เป็นไปได้ในการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าที่เป็นประโยชน์ต่อระบบ
ยางพาราของประเทศไทย โดยพิจารณาถึงองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งบทบาทของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ที่จัดตั้งขึ้นในปี 2558 ให้เป็นองค์กรกลาง
รับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบอย่างครบวงจร
3