Page 20 -
P. 20
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประสิทธิภาพของตลาดโภคภัณฑ์ล่วงหน้า (Market Efficiency)
งานวิจัยจ านวนมากให้ความส าคัญกับเรื่องการมีประสิทธิภาพของตลาดโภคภัณฑ์ล่วงหน้า (Market
Efficiency) โดยทดสอบว่าราคาล่วงหน้า (Future Price) ได้สะท้อนข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์หรือไม่
และมักเป็นการทดสอบร่วม(Joint Test) ว่าราคาล่วงหน้าเป็นการคาดหวังที่ไม่ล าเอียง (Unbiased
Expectation) ของราคาสินทรัพย์นั้นในอนาคต การศึกษาในระยะแรกๆ เช่น Garbade and Silber (1983)
และ Roll (1984) พบหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้ามีบทบาทส าคัญในการรวมข้อมูล
ข่าวสารที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายในตลาดเงินสดที่มีการซื้อขายตามที่ต่างๆทั่วไป เนื่องจากตลาดล่วงหน้าเป็น
ศูนย์กลางของการท าธุรกรรม และสามารถสะท้อนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นราคาจากตลาด
ล่วงหน้ายังมีความสัมพันธ์กับราคาสินค้าเงินสดในอนาคต
ต่อมานักวิชาการทางด้านเศรษฐศาสตร์การเงินได้น าแนวคิด Cointegration ทางด้านสถิติอนุกรม
เวลา (Time Series) ของ Engle and Granger (1987) และ Johansen (1991) มาประยุกต์ใช้ในการทดสอบ
3
การมีประสิทธิภาพของตลาดล่วงหน้าในระยะยาว งานวิจัยหลายชิ้นใช้วิธีนี้ทดสอบประสิทธิภาพตลาดสินค้า
ล่วงหน้าโภคภัณฑ์หลายประเภทในประเทศต่างๆ โดยมีการศึกษาที่พบว่าตลาดโภคภัณฑ์ล่วงหน้ามี
ประสิทธิภาพ เช่น Crowder and Hamed (1993) และ Gulen (1998) ศึกษาตลาดน้ ามันล่วงหน้าใน New
York Mercantile Exchange (NYMEX) Aulton et al. (1997) ศึกษาตลาดข้าวสาลีล่วงหน้าในประเทศ
อังกฤษ Ali and Gupta (2011) ศึกษาสินค้าเกษตรล่วงหน้าในตลาด National Commodity and
Derivatives Exchange (NCDEX) จ านวน 12 สินค้าและพบว่าตลาดสินค้าล่วงหน้าส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพ
ยกเว้นข้าวและข้าวสาลีไม่มีประสิทธิภาพเป็นต้น แต่ก็มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบว่าตลาดโภคภัณฑ์ล่วงหน้าไม่มี
ประสิทธิภาพ เช่น Beck (1994) ที่ศึกษาตลาดทองแดงล่วงหน้าใน London Mercantile Exchange (LME)
Kellard, et al. (1999) ศึกษาตลาดปศุสัตว์ล่วงหน้าใน Chicago Mercantile Exchange และ Wang and
Ke (2005) ศึกษาตลาดข้าวสาลีและถั่วเหลืองล่วงหน้าในประเทศจีน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม Brenner and Kroner (1995) ได้โต้แย้งทางทฤษฎีว่าการใช้วิธี Cointegration ในการ
ประเมินประสิทธิภาพของตลาดในระยะยาวนั้นไม่เหมาะสม Kellard (2002) ได้ทดสอบเชิงประจักษ์ราคาข้าว
สาลีล่วงหน้าของประเทศอังกฤษโดยใช้แนวคิดนี้ และสรุปว่าการใช้วิธี Cointegration ในการประเมิน
ประสิทธิภาพของตลาดในลักษณะนี้อาจไม่ถูกต้องอย่างสมบูรณ์ในการประเมินความมีประสิทธิภาพของตลาด
นอกจากนั้น Kristoufek and Vosvrda (2014) ศึกษาประสิทธิภาพของตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ 25 ชนิด ตั้งแต่
น้ ามัน จนถึงสินค้าเกษตรต่างๆ โดยใช้วิธีการเปรียบเทียบดัชนีการมีประสิทธิภาพ (Efficiency Index) พบว่า
3 ดูการศึกษาของ Lai and Lai (1991) เงื่อนไขของ Market Efficiency คืออนุกรมราคาเงินสดและราคาล่วงหน้าต้องมี Cointegration ซึ่งกันและ
กัน ถ้าราคาไม่ Cointegrate กันราคาล่วงหน้าอาจไม่สามารถมีข้อมูลข่าวสารของราคาเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาวได้
7