Page 23 -
P. 23
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การศึกษาเหล่านี้อาจน ามาอนุมานได้กับการตัดสินใจใช้ตลาดล่วงหน้าในการบริหารความเสี่ยงของเกษตรกรได้
เนื่องจากการใช้ตลาดล่วงหน้าในการป้องกันความเสี่ยงมีความยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าการซื้อประกันภัย ทั้ง
5
ทางด้านการวางเงินประกันขั้นต่ าและการ Mark to Market สถานะของการซื้อขาย
ปัจจัยในการจัดการความเสี่ยงโดยการซื้อประกันของเกษตรกร
อะไรเป็นปัจจัยที่ส าคัญในการซื้อประกันของเกษตรกรเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจและศึกษาจาก
นักวิชาการค่อนข้างมาก เนื่องจากการที่เกษตรกรในประเทศก าลังพัฒนาซื้อประกันน้อยทั้งๆที่ค่าเบี้ยประกัน
ต่ าเนื่องจากได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล อุปสงค์ของการท าประกันภัยที่ต่ าอาจมีสาเหตุที่ส าคัญหลายประการ
อาทิ การขาดความรู้ทางด้านการเงิน (Financial Literacy) การขาดข้อมูลข่าวสาร การกระตุ้นทางการตลาด
(Marketing Incentives) ปัญหาเรื่องสภาพคล่องและก าลังซื้อ (Liquidity and Affordability) ตลอดจนความ
เชื่อถือ (Trust) ของเกษตรกรที่มีต่อผู้ให้ประกัน เป็นต้น
Gine et al. (2008) และ Gine and Yang (2009) พบว่าการขาดความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ เป็นสาเหตุ
ส าคัญที่มีผลต่ออุปสงค์การท าประกันภัยโดยใช้ดัชนีน้ าฝน เนื่องจากผลิตภัณฑ์ลักษณะนี้ค่อนข้างซับซ้อน
ส าหรับเกษตรกรรายย่อย เพราะการจ่ายค่าสินไหมทดแทนขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ าฝน ไม่ใช่ความสูญเสียของ
ผลผลิต จึงท าให้เกิด Basis Risk ของผู้ซื้อประกัน ดังนั้นผู้ซื้อประกันจะต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ
น้ าฝนกับผลผลิตจึงจะสามารถก าหนดขนาดของสัญญาที่เหมาะสมในการป้องกันความเสี่ยงได้ การศึกษา
เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าเกษตรกรรายย่อยอาจไม่ใช้สัญญาสินค้าล่วงหน้า เพราะสัญญาเหล่านี้นอกจากจะมี Basis
Risk แล้วยังมีประเด็นในเรื่องการ Mark to Market และ Margin Requirement ซึ่งอาจมีผลต่อสภาพคล่อง
และการเข้าถึงตลาดล่วงหน้าของเกษตรกรด้วย
Gaurav et al. (2011) ศึกษาว่าความรู้ทางด้านการเงินเป็นปัจจัยในการซื้อประกันของเกษตรกร
หรือไม่ โดยเปรียบเทียบผลกระทบของการให้ความรู้ทางการเงินและการให้แรงจูงใจทางการตลาด
(Marketing Incentives) ต่อการซื้อประกันดัชนีน้ าฝนของเกษตรกรในอินเดีย โดยแรงจูงใจทางการตลาด
(Marketing Incentives) มี 3 แบบด้วยกันคือ 1) การคืนเงินค่าเบี้ยประกันถ้าไม่มีการจ่ายค่าสินไหมชดเชย
(Money Back) 2) การให้ข้อมูลการพยากรณ์อากาศ และ 3) การให้ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ าฝน
กับความชื้นของดิน ผลการศึกษาพบว่าการให้ความรู้ทางการเงินสามารถเพิ่มอัตราการท าประกันภัย ในขณะที่
การให้แรงจูงใจทางการตลาดมีเพียงเฉพาะการคืนเงินค่าเบี้ยประกัน (Money Back) เท่านั้นที่มีผลต่อการเพิ่ม
อัตราการท าประกันภัย แต่วิธีนี้มีต้นทุนสูงมาก กล่าวคือเท่ากับการลดค่าเบี้ยประกันถึงร้อยละ 60 สอดคล้อง
กับการศึกษาของ Cole et al. (2013) ที่พบว่าอุปสงค์ของประกันภัยพืชผลมีความอ่อนไหวอย่างมากต่ออัตรา
5 ถ้าความรู้และทักษะทางการเงินมีผลต่อการตัดสินใจที่ไม่ซับซ้อนก็ยิ่งน่าจะมีผลต่อการตัดสินใจที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่า
10