Page 14 -
P. 14
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 1
หลักการและเหตุผล
โภคภัณฑ์ล่วงหน้า (Commodity Futures) มีความส าคัญต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศเนื่องจาก
เป็นเครื่องมือที่ท าให้หน่วยเศรษฐกิจและธุรกิจสามารถจัดการกับความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์ตลอดจน
ปัจจัยการผลิตและวัตถุดิบได้ ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรมากที่สุดประเทศหนึ่ง
ของโลก รัฐบาลที่ผ่านมาได้เห็นความส าคัญของสินค้าเกษตรล่วงหน้าและได้จัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า
แห่งประเทศไทย (The Agricultural Futures Exchange of Thailand, AFET) ขึ้นในปี พ.ศ. 2547 และได้
ท าการซื้อขายยางแผ่นรมควันล่วงหน้าขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์แรก ต่อมาจึงได้มีการซื้อขายสินค้าเกษตรอื่น เช่น
1
ข้าวและข้าวโพด หลังจากที่ด าเนินการมากว่า 10 ปี ตลาดซื้อขายล่วงหน้าได้ปิดตัวลงในปีที่แล้ว (พ.ศ. 2559)
และได้ย้ายการซื้อขายและก ากับดูแลภายใต้ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Thailand Futures Exchange,
TFEX) ซึ่งเป็นตลาดซื้อขายผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าทางด้านการเงิน และได้ท าการซื้อขายผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า
ยางพาราเพียงอย่างเดียว แต่การซื้อขายเท่าที่ผ่านมายังมีสภาพคล่องที่ค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับตลาดสินค้า
ล่วงหน้าเกษตรหลักในภูมิภาค เช่น Tokyo Commodity Exchange (TOCOM), Singapore Commodity
Exchange (SICOM) และ Shanghai Futures Exchange (SHFE)
จากการที่ประชากรของไทยจ านวนมากเป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประชากรเหล่านี้มี
รายได้น้อย รัฐบาลทุกสมัยที่ผ่านมาจึงมีมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรเมื่อราคาของสินค้าเกษตร
ตกต่ า หรือเกิดภัยพิบัติขึ้น ท าให้เป็นภาระทางด้านการคลังของรัฐบาล ปัจจุบันในการปฏิรูปประเทศทางด้าน
เศรษฐกิจ จากเอกสารการปฏิรูป: ด้านเศรษฐกิจ ของคณะท างานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้คนใน
ชาติ พ.ศ. 2557 ได้มีการก าหนดนโยบายในการพัฒนาตลาดเกษตรล่วงหน้าเพื่อให้ “เกษตรกรไทยมีทางเลือก
ที่จะผลิตหรือก าหนดราคาที่จะขายอีกทั้งตลาดเกษตรล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงของราคา
สินค้าเกษตร และท าให้ภาคเกษตรปลอดจากการครอบง าทางการเมืองและสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกร
สามารถเข้ามาท าธุรกรรมในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า”
อย่างไรก็ตาม งานศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์การพัฒนาส่วนมาก เช่น Banerjee and Duflo
(2007) และ Banerjee (2013) พบว่าเกษตรกรในประเทศที่ก าลังพัฒนามีการบริหารความเสี่ยงค่อนข้างน้อย
เนื่องจากเกษตรกรอาจขาดทักษะความรู้ทางการเงิน หรือมีปัญหาเชิงพฤติกรรม (Cognitive Bias)
นอกจากนั้นยังพบว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินส าหรับผู้มีรายได้น้อยจะประสบความส าเร็จหรือไม่
ขึ้นอยู่กับว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการเหล่านั้นได้รับการออกแบบให้เหมาะกับความต้องการของผู้มีรายได้น้อย ซึ่ง
1 โดยมีวัตถุประสงค์ให้มีบทบาทในการใช้เป็นกลไกในการบริหารความเสี่ยงด้านราคาให้กับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้ผลิต
ผู้ค้ายาง ผู้แปรรูปสินค้า ได้เข้ามาซื้อขายเพื่อลดความเสี่ยง โดยมีนักลงทุนทั่วไปเป็นผู้เข้ามาซื้อขายเพื่อรับโอนความเสี่ยง และเมื่อมีผู้ซื้อ/ขายกันใน
ตลาดล่วงหน้ามากพอตลาดก็จะท าหน้าที่เป็นตัวสะท้อนราคาในอนาคตของสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1