Page 30 -
P. 30

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       การด าเนินการซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในตลาด AFET ได้ด าเนินงานอย่างต่อเนื่องจนกระทั่ง วันที่

               30 ธันวาคม 2557 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการรวมตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
               (AFET) กับบริษัทตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จ ากัด (มหาชน) (Thailand Futures Exchange,

               TFEX) และต่อมาได้มีการออกพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าปี พ.ศ.

               2542 ในปี พ.ศ. 2558 และได้ยุติการด าเนินงานลงอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ซึ่งการ
               รวมหน่วยงานซื้อขายตราสารอนุพันธ์ล่วงหน้าทั้งสองเข้าด้วยกันนั้น เกิดจากการที่ภาครัฐเห็นว่าการซื้อขาย

               สัญญาซื้อขายล่วงหน้าควรอยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพียงตลาดเดียวเพื่อเพิ่ม
               ประสิทธิภาพและยกระดับการซื้อขายล่วงหน้าของประเทศไทย ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคการเกษตรและ

               เศรษฐกิจของประเทศ ลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาและการรับรู้ราคาในอนาคต และเป็นผลดีต่อ

               ประเทศในเรื่องของการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale)
                                                                     7


               3.2 โครงสร้างการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า


                       การศึกษาในส่วนนี้คณะผู้วิจัยจะได้ท าการพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ที่จะมีผลต่อการซื้อขายยางพารา

               ล่วงหน้าในตลาด TFEX โดยคณะผู้วิจัยได้ท าการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตลาดซื้อขายยางพารา
               ล่วงหน้า ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนจากตลาด TFEX บริษัทผู้ส่งออกยางพารา สหกรณ์กองทุนสวนยาง (ตัวแทน

               สหกรณ์) และการยางแห่งประเทศไทย


                       ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) หรือตลาด TFEX


                        การซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในตลาด TFEX ยังคงมีลักษณะของสัญญาเหมือนกันกับที่ซื้อขายใน

                        ตลาด AFET กล่าวคือขนาดต่อ 1 สัญญาเท่ากับ 5,000 กิโลกรัม และมีเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุทุก

                        เดือนต่อเนื่องเรียงล าดับกัน 7 เดือนที่ใกล้ที่สุด ถึงแม้ว่าสัญญาซื้อขายยางพาราในตลาด TFEX ใน
                        ปัจจุบันจะมีทั้งสัญญาซึ่งเป็นการซื้อขายเพื่อการลงทุนไม่มีการส่งมอบจริง (RSS3) และสัญญาที่มี

                        การส่งมอบจริง (RSS3D) แต่นโยบายของตลาด TFEX จะเน้นให้การซื้อขายเป็นลักษณะที่มีการส่ง
                        มอบจริง เพื่อลดการเข้ามาของกลุ่มนักลงทุนที่เน้นการเก็งก าไรและลดความผันผวนของราคาซื้อ

                        ขายยางพาราล่วงหน้า


                        สภาพคล่องของการซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในปัจจุบันมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยปริมาณการซื้อขายใน

                        เดือนตุลาคม 2560 มีจ านวนสัญญาซื้อขายทั้งสิ้น 938 สัญญา เทียบกับ 98 สัญญาในเดือนมกราคม

                        2560 ซึ่งแนวโน้มที่ดีขึ้นนี้เกิดจากความพยายามของตลาด TFEX ในการเพิ่มสภาพคล่องการซื้อขาย




               7  วันวิภา สุขสวัสดิ์ (2558)




                                                                                                        17
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35