Page 35 -
P. 35
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สหรัฐฯ (USD) ต่อไป อย่างไรก็ตามยังเป็นที่น่ากังวลว่าตลาด RRM ของไทยจะประสบความส าเร็จ
หรือไม่ เนื่องจากตลาด RRM ในประเทศอินโดเซีย ซึ่งซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในรูปแบบของยาง
แท่ง STR 20 ยังมีปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างน้อยมากเช่นกัน
โดยสรุป การศึกษาพบว่าตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าของไทย ถึงแม้จะได้มีการรวมตลาด AFET
เข้ากับตลาด TFEX แล้วก็ตาม แต่สภาพคล่องการซื้อขายในปัจจุบันยังมีปริมาณไม่มากนัก ท าให้ผู้ที่สนใจหรือ
กลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามาซื้อขายในตลาดล่วงหน้าไม่กล้าเข้ามาซื้อขาย โดยเฉพาะผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ๆ
นอกจากนี้การซื้อขายก าหนดในรูปของสกุลเงินบาท ท าให้อาจไม่ดึงดูดผู้ผลิตยางล้อรถยนต์รายใหญ่ๆ ของโลก
เข้ามาซื้อยางพาราล่วงหน้าในตลาด TFEX ของไทย นอกจากนี้ผู้ผลิตที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบในประเทศก็
สามารถตกลงซื้อขายยางล่วงหน้ากับผู้ขายได้โดยตรง โดยไม่ต้องวางเงินหลักประกัน ขณะเดียวกันสินทรัพย์
อ้างอิงในตลาดซื้อขายล่วงหน้าของไทยยังมีเพียงชนิดเดียวคือยางแผ่นรมควันชั้น 3 ขณะที่ผู้ส่งออกยางพารา
ต้องการให้มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นยางแท่ง STR 20 ด้วย ส าหรับกลุ่มเกษตรกรซึ่งมีสถานะขายล่วงหน้า
เช่นเดียวกันกับผู้ส่งออกยางจ าเป็นต้องเป็นสหกรณ์ที่มีขนาดใหญ่พอสมควรและมีโรงงานส าหรับแปรรูปยาง
แผ่นรมควันที่ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองคุณภาพจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ส าหรับตลาด RRM
นั้น เพิ่งเริ่มจัดตั้งโดยกลุ่มเป้าหมายของผู้ที่จะเข้ามาซื้อขายล่วงหน้าน่าจะเป็นกลุ่มเดียวกันกับของตลาด TFEX
ดังนั้นจึงคาดว่าจะประสบปัญหาคล้ายๆ กัน ยกเว้นแต่เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง
อาจจะดึงดูดผู้ผลิตยางล้อรถยนต์รายใหญ่ของโลกเข้ามาซื้อยางพาราล่วงหน้าได้ แต่ก็จะเป็นปัญหากับฝั่งของ
สหกรณ์ต่างๆ ที่จะเข้ามาขายล่วงหน้าที่จะต้องรับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน นั่นหมายความว่าสหกรณ์
ดังกล่าวจะต้องมีปริมาณการผลิตที่มากพอควรและมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยง
โดยสรุปจะเห็นว่าโครงสร้างตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าของไทยอาจไม่ตอบโจทย์การเป็นเครื่องมือที่
เหมาะสมให้กับเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อย ในการใช้เพื่อบริหารความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา
ยางแผ่นรมควันล่วงหน้า
22