Page 34 -
P. 34

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                        การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)


                        การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.

                        2558 จากเดิมที่เป็นส านักงานกองทุนสงเคราะห์การท าสวนยาง (สกย.) ซึ่งตามพระราชบัญญัติฉบับ

                        นี้ กยท. มีอ านาจหน้าที่มากขึ้นไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะเรื่องการจัดเก็บเงินสงเคราะห์สวนยาง และการ
                        จ่ายเงินสงเคราะห์ให้แก่เกษตรกรเท่านั้น ซึ่งตามยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนายางพาราตลอดห่วงโซ่

                        อุปทาน และห่วงโซ่คุณค่า ข้อที่ 1 การสร้างกลไกรักษาเสถียรภาพราคายาง และข้อที่ 2 การ
                        ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว กยท. ได้มี

                        มาตรการในการเพิ่มช่องทางให้กับเกษตรกรและสหกรณ์สามารถขายยางพาราได้ในราคาที่เหมาะสม

                        โดยในอดีตที่ผ่านมามีการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายยางพาราในจังหวัดใหญ่ๆ เช่น สงขลา
                        นครศรีธรรมราช เป็นต้น


                        นอกจากนี้การประชุมสภาไตรภาคียางพาราระหว่างประเทศ (International Tripartite Rubber

                        Council: ITRC) ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ได้เห็นชอบให้จัดตั้งตลาด

                        กลางยางพาราระดับภูมิภาค (Regional Rubber Market : RRM) ขึ้น เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่ง
                        ให้กับเกษตรกรและสหกรณ์สามารถ ขายยางพาราในลักษณะตลาดล่วงหน้า โดยได้เปิดด าเนินการ

                        พร้อมกัน 3 ประเทศ ในวันที่ 2 กันยายน 2559 ตลาดกลางยางพาราระดับภูมิภาค เป็นตลาดกลาง

                        ซื้อขายยางธรรมชาติล่วงหน้าแบบส่งมอบจริง โดยผู้ซื้อจะ ได้รับมอบยาง 30 วันนับจากวันท าสัญญา
                        สินค้าที่ซื้อขายผ่านตลาดมี 2 ชนิด คือยางแท่ง STR 20 และยางแผ่นรมควันชั้น 3 โดยกลุ่มเป้าหมาย

                        ที่จะเข้ามาซื้อในตลาด RRM ได้แก่ ผู้ส่งออกยางพารา ผู้ผลิตที่ใช้ยางพารา เป็นวัตถุดิบ เทรดเดอร์
                        ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส าหรับกลุ่มเป้าหมายที่จะเป็นผู้ขายในตลาดประกอบด้วย สหกรณ์

                        หรือผู้ผลิตยางพาราที่ได้มาตรฐานการรับรองอยู่ใน SICOM Approved Factory List หรือ โรงงาน

                        ที่มีมาตรฐาน GMP และได้รับการรับรองจากคณะกรรมการ Selection Committee ซึ่งเป็น
                        คณะกรรมการร่วม 3 ประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบคุณภาพให้แก่ผู้ใช้ยางทั่วโลก


                        การซื้อขายในตลาด RRM ของไทยอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ กยท. โดยมีตัวแทนจากส านักงาน

                        คณะกรรมการก ากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

                        (ตลท.) และตลาด TFEX เข้าร่วมประชุมหารือและให้ค าปรึกษา โดยปัจจุบันตลาด RRM ยังไม่ได้
                        เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในประเทศไทย เนื่องจากอยู่ระหว่างการทดสอบระบบการส่งค าสั่งซื้อขายที่จะ

                        เป็นแบบ Auto matching continuous system ผ่านอินเทอร์เน็ต คาดว่าจะท าการซื้อขายได้ใน

                        ระยะเวลาอันใกล้นี้ ปัจจุบันตลาด RRM มีสมาชิกที่เปิดบัญชีแล้วจ านวน 14 ราย รายละเอียดของ
                        สัญญาซื้อขายเบื้องต้นจะมีขนาดของการซื้อขายต่อ 1 สัญญาเท่ากับ 20,000 กิโลกรัม หรือ 20

                        เมตริกตัน โดยก าหนดราคาซื้อขายเป็นสกุลเงินบาท แต่มีแผนจะให้มีการซื้อขายในสกุลดอลลาร์





                                                                                                        21
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39