Page 39 -
P. 39

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       เพื่อสามารถเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของราคายางพาราที่ซื้อขายในตลาดต่าง ๆ ในสกุลเงินตรา

               ต่างประเทศและขนาดที่แตกต่างกันกับของไทย คณะผู้วิจัยจะท าการแปลงราคาซื้อขายที่เป็นสกุลเงินตรา
               ต่างประเทศเป็นสกุลบาทและค านวณเป็นราคาต่อกิโลกรัม ส าหรับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างราคา

               น้ ามันดิบและราคายางพารา ได้ด าเนินการในลักษณะเดียวกันโดยการแปลงราคาน้ ามันดิบที่ซื้อขายในสุกลเงิน

               USD เป็นเงินบาท


               4.2 การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น (Descriptive Statistics)


                       สถิติเบื้องต้นของข้อมูล


                       ตารางที่ 4.1 แสดงค่าสูงสุด ต่ าสุด ค่าเฉลี่ย ค่าผันผวน และค่าสหสัมพันธ์ของราคายางแผ่นรมควัน

               ชั้น 3 (ราคาเงินสด หรือ spot) ตลาดกลางหาดใหญ่ ตลอดจนราคาล่วงหน้าของยางแผ่นรมควันชั้น 3 จาก
               ตลาดโตเกียว (TOCOM) สิงคโปร์ (SICOM) และเซี่ยงไฮ้ (SHFE) โดยแปลงค่าเป็นราคาบาทต่อกิโลกรัม โดยใช้

               อัตราแลกเปลี่ยนของวัน เมื่อพิจารณาระยะเวลาทั้งช่วงของข้อมูล (ค.ศ.2001 – 2017) ราคาสูงสุดของยาง

               แผ่นรมควันชั้น 3 คือ 193.55 บาท/กิโลกรัม ในขณะที่ราคาต่ าสุดจะอยู่เพียง 20.80 บาท/กิโลกรัม ราคาเฉลี่ย
               ของยางแผ่นรมควันชั้น 3 จะอยู่ที่ 72.32 บาท ซึ่งจะใกล้เคียงกับราคาล่วงหน้าเฉลี่ยยกเว้นราคาล่วงหน้าของ

               SHFE ที่มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 85.19 บาท ความผันผวนของราคาซึ่งวัดโดยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจะใกล้เคียงกัน

               คือประมาณ 32 บาทของทุกตลาด ส าหรับความสัมพันธ์ของข้อมูลนั้นมีค่อนข้างสูง โดยพิจารณาจากค่า
               สหสัมพันธ์ที่เกิน 0.95 โดยราคาของตลาดกลางหาดใหญ่มีความสัมพันธ์กับราคาล่วงหน้า SICOM สูงที่สุดคือ

               0.99 รองลงมาคือ ราคาล่วงหน้า TOCOM และ SHFE ที่ 0.98 และ 0.97 ตามล าดับ


                       ในตารางที่ 4.1 ยังแยกแสดงค่าสถิติเบื้องต้นของข้อมูลออกเป็น 2 ช่วง คือช่วงที่ 1 ค.ศ. 2001 ถึง

               2011 (เดือนกุมภาพันธ์) ซึ่งเป็นช่วงที่ราคายางขึ้นสูงสุด และช่วงที่ 2 ค.ศ. 2011 ถึง 2017 ซึ่งเป็นช่วงที่ราคา
               ยางผ่านจุดสูงสุด และลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพบว่าความผันผวนของราคา และค่าสหสัมพันธ์ของราคาต่าง ๆ มี

               ลักษณะคล้ายกันทั้งช่วงเวลาไม่ได้มีความแตกต่างในช่วงของราคาขึ้นหรือลง


                       ราคายาง ราคาน้ ามัน และการเติบโตทางเศรษฐกิจ


                       เนื่องจากการใช้ยางธรรมชาติอาจถูกทดแทนโดยยางสังเคราะห์ ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของน้ ามันดิบ ดังนั้น

               เมื่อราคาน้ ามันสูงขึ้น อุปสงค์ในยางสังเคราะห์จะลดลง (เนื่องจากราคาสูงขึ้น) ท าให้มีอุปสงค์ในการใช้ยาง

               ธรรมชาติสูงขึ้นส่งผลให้ราคายางธรรมชาติสูงขึ้น ภาพที่ 4.1 แสดงราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาน้ ายางสด
               และราคาน้ ามันดิบ โดยรวมในช่วง ค.ศ. 2001 – 2017 จะเห็นได้ว่าการเคลื่อนไหวของราคาดังกล่าวมีการ

               เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน ยกเว้นในช่วงกลางปี 2011 ถึงกลางปี 2014 ที่ราคาน้ ามันมีลักษณะคงตัวอยู่ที่


                                                                                                        26
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44