Page 41 -
P. 41
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ส าหรับลักษณะของอัตราผลตอบแทนของยางพารา ตารางที่ 4.2 แสดงค่าสูงสุด ต่ าสุด ค่าเฉลี่ย
ความผันผวน และค่าสหสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนราคายาง แปลงราคาเป็นสกุลเงินบาท โดยแสดงแยก
เป็นช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 2001 - 2017 ช่วง ค.ศ. 2001 - 2011 (เดือนกุมภาพันธ์) ซึ่งเป็นช่วงที่ราคายางขึ้น
สูงสุด และช่วง ค.ศ. 2011 - 2017 ซึ่งเป็นช่วงที่ราคายางผ่านจุดสูงสุดและลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยรวม
สามารถสรุปได้ว่าตลาด TOCOM มีความผันผวนมากที่สุดในทุกช่วงเวลา และมีค่าสหสัมพันธ์ต่ าที่สุดกับตลาด
ไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงราคาลง
ส าหรับความผันผวนของยางแผ่นรมควันชั้น 3 ตารางที่ 4.3 แสดงความผันผวนของอัตราผลตอบแทน
ของราคาเงินสดยางรมควันชั้น 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ และความผันผวนของอัตราผลตอบแทนของราคายาง
ล่วงหน้าในตลาด TOCOM, SICOM และ SHFE แยกเป็นรายปีตั้งแต่ ค.ศ. 2001 - 2017 โดยรายงานทั้งสกุล
เงินบาทและสกุลเงินเดิม จากตาราง (ดูภาพที่ 4.6 และ 4.7 ประกอบ) โดยรวมความผันผวนอัตราผลตอบแทน
ของราคาเงินสดยางแผ่นรมควันชั้น 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ต่ ากว่าความผันผวนของอัตราผลตอบแทนราคา
ยางพาราล่วงหน้าในตลาดล่วงหน้าทั้งสามตลาด TOCOM เป็นตลาดที่มีความผันผวน (เมื่อแปลงเป็นสกุลเงิน
บาท) สูงที่สุดทุกปียกเว้น ค.ศ. 2003 และ ค.ศ. 2004 ที่ตลาด SHFE มีความผันผวนสูงที่สุด ส าหรับตลาด
SICOM มีความผันผวนน้อยที่สุดทุกปียกเว้น ค.ศ. 2011
เนื่องจากโดยทั่วไปความผันผวนของสินทรัพย์ทางการเงินอาจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับราคา
ของสินทรัพย์ กล่าวคือความผันผวนจะสูงเมื่อระดับราคาสูง เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ดังกล่าว ภาพที่ 4.8
แสดงราคาเฉลี่ยรายปีของยางแผ่นรมควันชั้น 3 กับความผันผวนจะเห็นได้ว่า ความผันผวนของราคายางแผ่น
รมควัน ชั้น 3 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วง ค.ศ. 2001 - 2011 และลดลงเมื่อระดับราคายางลดลง หลังจากปี
ดังกล่าว แต่กลับเพิ่มสูงขึ้นใน ค.ศ. 2016
28