Page 37 -
P. 37
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 4
การสะท้อนข้อมูลข่าวสาร (Price Informativeness) ของราคายางพาราล่วงหน้า
แนวคิดหลักของการศึกษานี้ คือการที่เกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยสามารถเข้าถึงตลาดซื้อขาย
ล่วงหน้า (Futures) ค่อนข้างล าบาก เพราะการซื้อขายในตลาดล่วงหน้า จะต้องมีการวางเงินหลักประกัน
(Margin) และการคิดก าไรขาดทุน (Mark-To-Market) ทุกวัน ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยต้องมีสภาพ
คล่องที่เพียงพอ ตลอดจนสินค้ามีลักษณะมาตรฐานซึ่งอาจไม่ตรงกับความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูก
ยางพารารายย่อย ผลิตภัณฑ์ที่จะให้เกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยใช้บริหารความเสี่ยงอาจต้องมีการ
ออกแบบให้เหมาะสมกับสถานะและความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อย จากนั้นจึงป้องกัน
8
หรือจัดการความเสี่ยงของสัญญาดังกล่าวโดยการใช้ตลาดซื้อขายล่วงหน้า ถ้าราคาของตลาดเงินสด (ตลาด
กลางหาดใหญ่) มีความสัมพันธ์กันกับราคาตลาดซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งจะเป็นตลาดซื้อขายล่วงหน้าในประเทศ
ไทยหรือต่างประเทศก็ได้ แต่ในขณะนี้ตลาดซื้อขายล่วงหน้า AFET ซึ่งได้ปิดด าเนินการและอยู่ในระหว่างช าระ
บัญชีท าให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในอดีตของไทยได้ และข้อมูลจากตลาดซื้อขายล่วงหน้า TFEX ยังมีข้อมูลไม่
เพียงพอเนื่องจากเพิ่งเปิดด าเนินการในขณะที่ศึกษาและมีสภาพคล่องค่อนข้างน้อย
การศึกษาในส่วนนี้จึงวิเคราะห์ Price Informativeness ของราคายางพาราล่วงหน้าจากตลาดหลัก
ของโลกได้แก่ TOCOM, SICOM และ SHFE กับราคาเงินสดของประเทศไทย ซึ่งถ้าราคาของตลาดกลาง
หาดใหญ่มีความสัมพันธ์กับตลาดล่วงหน้าดังกล่าว นั่นหมายความว่าการซื้อขายยางพาราล่วงหน้าจะสามารถ
ใช้ในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคายางพาราของประเทศไทยหรือของสัญญาการเงินที่
ออกแบบส าหรับเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยได้ โดยส่วนที่ 1 กล่าวถึงวิธีการศึกษาและข้อมูล ส่วนที่ 2
เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น (Descriptive Statistics) ส่วนที่ 3 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางทฤษฎีระหว่าง
ราคาล่วงหน้าและราคาเงินสด
4.1 วิธีการศึกษาและข้อมูล
ความสัมพันธ์ทางทฤษฎีระหว่างราคาล่วงหน้าและราคาเงินสดสามารถระบุได้ดังนี้
+ , − = + , + + , (1)
8 เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ทางด้าน Microfinance ต่างๆ ที่สามารถประสบความส าเร็จได้ จะต้องมีนวัตกรรมเพื่อแก้อุปสรรคในการเข้าถึงของคน
ยากจนรายย่อย
24