Page 40 -
P. 40
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประมาณ 110 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล แต่ราคายางกลับลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ปี ค.ศ. 2015 ราคา
น้ ามันดิบและราคายางเริ่มเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันเช่นเดิม สาเหตุดังกล่าวประการหนึ่งอาจเป็นไปได้
ว่าเกิดจากกระแสของการใช้เทคโนโลยีในการผลิต Shale Oil จึงเกิดความไม่แน่นอนของการทดแทนยาง
ธรรมชาติด้วยยางสังเคราะห์ ซึ่งถึงแม้ว่ายังไม่มีอุปทานน้ ามันผลิตออกมาจริง (ราคาน้ ามันยังไม่ได้ขยับลดลง)
แต่ราคายางได้ตอบสนองถึงกระแสดังกล่าวก่อนการลดลงของราคาน้ ามัน
นอกจากปัจจัยทางด้านน้ ามันแล้ว ราคายางยังอาจจะขึ้นกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ภาพที่ 4.2
แสดงราคายางและอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไทย จากภาพไม่ได้แสดงความสัมพันธ์
เชิงบวกอย่างชัดเจน เนื่องจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยมีความผันผวนจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี
ค.ศ. 2008 น้ าท่วมใหญ่ในปีค.ศ. 2011 ตลอดจนปัจจัยความไม่สงบด้านการเมืองอย่างต่อเนื่อง เพื่อดู
ความสัมพันธ์ของราคายางและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศผู้ใช้ยางพารา ในภาพที่ 4.3 แสดง
ราคายางและอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศน าเข้ายางที่ส าคัญ พบว่ามี
ความสัมพันธ์ในเชิงบวกบ้างระหว่างอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีนกับราคายางแผ่นรมควันของ
ไทย โดยในช่วง ค.ศ. 2001 ถึง 2006 จะเห็นว่าราคาของยางได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราการ
เจริญเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 8.34% เป็น 12.72% และราคายางมี
การปรับตัวลดลงเมื่ออัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมลดลงเป็น 9.40% ต่อมาในช่วง ค.ศ. 2011
ราคาของยางมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราการเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศจีนลดลง
อย่างต่อเนื่องจาก 9.54% เป็น 6.90% ใน ค.ศ. 2011
การเคลื่อนไหวของราคา อัตราผลตอบแทน และความผันผวน
ภาพที่ 4.4 แสดงราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ (เงินสด) และราคาล่วงหน้าจาก
ตลาด TOCOM, SICOM และ SHFE จะเห็นได้ว่าราคาเงินสดเคลื่อนไหวสอดคล้องไปกับตลาด SICOM มาก
ที่สุด รองลงมาคือ ตลาด TOCOM ส าหรับตลาด SHFE ราคาเงินสดและราคาล่วงหน้ามีความแตกต่างกัน
พอสมควรโดยทั่วไปราคาล่วงหน้าของตลาด SHFE จะสูงกว่าราคาเงินสด
เพื่อวิเคราะห์ว่าราคามีลักษณะเป็นฤดูกาล (Seasonal) หรือไม่ ภาพที่ 4.5 แสดงราคาเฉลี่ยรายเดือน
ในช่วง ค.ศ.2001 - 2017 ของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ของตลาดกลางหาดใหญ่ จากภาพจะเห็นได้ว่าราคา
เฉลี่ยของยางต่ าที่สุดในเดือนสิงหาคม หรือเดือนพฤศจิกายน และมีราคาเฉลี่ยสูงสุดในเดือนมิถุนายน โดยรวม
แล้วในช่วงครึ่งปีแรกราคายางจะสูงกว่าในช่วงครึ่งปีหลัง นอกจากนั้นในภาพยังแสดงราคายางและราคาน้ ามัน
เฉลี่ยรายเดือนโดยแยกเป็นช่วงเวลาขาขึ้น (ค.ศ. 2001 - 2011) และช่วงเวลาขาลง (ค.ศ. 2011 - 2017) จะ
เห็นว่าราคายางของทั้งสองช่วงเวลาดังกล่าวมีราคาเฉลี่ยสูงในเดือนมิถุนายน และมีราคาต่ าในครึ่งปีหลัง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาขาลง (ค.ศ. 2011 - 2017)
27