Page 50 -
P. 50

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                  นิเวศนี้ในประเทศไทยมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคกลางและภาคตะวันออก แต่ยังมีพื้นที่อีกส่วนหนึ่ง
          ในพื้นที่ลุ่มที่น�้าท่วมขังของภาคอื่นๆ  การเปลี่ยนแปลงของระดับน�้าขังทั้งความลึกของน�้าและช่วงเวลาน�้าขัง

          เป็นปัจจัยหลักที่ก�าหนดชนิดพันธุ์ข้าวและวิธีจัดการเพาะปลูก ซึ่งรวมถึงการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของ
          ดินและการใส่ปุ๋ยด้วย  ในนิเวศนี้ใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมข้าวมาปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อสร้าง

          ความมั่นคงของการผลิตเป็นอย่างมาก  ข้าวในกลุ่มนี้มีความสามารถเฉพาะในการขึ้นน�้าและลักษณะการ
          ยกชูรวงของข้าว  มีการใช้ประโยชน์ด้านการจัดการเพาะปลูกน้อยมาก  ส่วนใหญ่ปลูกโดยวิธีหว่านข้าวแห้ง

          ในนาช่วงต้นฤดูฝน  เมื่อมีฝนตกลงมาและดินมีความชื้น  เมล็ดข้าวจะงอกและเจริญเติบโตในระยะแรก
          ในรูปแบบเดียวกับข้าวในนิเวศอื่น แต่เมื่อนามีน�้าขังและระดับน�้าเพิ่มสูงขึ้น ข้าวน�้าลึกจะยืดตัวขึ้นในระดับ
          เหนือน�้าที่ลึกได้ถึง 1 เมตร ส่วนข้าวขึ้นน�้าสามารถยืดตัวในน�้าลึกได้มากถึง 3 เมตร มีการแตกรากที่ข้อ

          ในน�้าและดูดใช้ธาตุอาหารพืชในน�้าได้  ส่วนรากในดินใช้ส�าหรับยึดเกาะไม่ให้ต้นข้าวไหลไปกับน�้า  ต้นข้าว
          จะอยู่ในสภาพนี้เป็นเวลานานเท่ากับช่วงเวลาที่มีน�้าขังในนา ต่อมาน�้าจะเริ่มลดระดับลงในช่วงปลายฤดูฝน

          และน�้าจากนาไหลระบายลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง  ต้นข้าวที่เอนราบในทิศทางการไหลของน�้าจะตั้งท้อง
          และออกรวงโดยจะยกชูรวงขึ้นมา ท�าให้เมล็ดข้าวพ้นน�้าและสะดวกต่อการเก็บเกี่ยว

                  การใช้ประโยชน์ด้านการจัดการเพาะปลูกในนิเวศนี้มีน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับนิเวศอื่นๆ
          โดยเฉพาะการจัดการธาตุอาหารพืชและการใส่ปุ๋ยที่ท�าได้ยาก แต่สภาพธรรมชาติก็เอื้อประโยชน์ในด้านนี้

          แทน  โดยในน�้าที่หลากจากพื้นที่สูงลงมาขังในนาข้าวนั้นมีธาตุอาหารพืชติดมาด้วยจ�านวนมาก  ต้นข้าว
          ขึ้นน�้าจึงแตกรากแขนงที่ข้อของล�าต้นที่อยู่ในน�้า ดูดซับเอาธาตุอาหารพืชดังกล่าวมาใช้ในการเจริญเติบโต
          และให้ผลผลิตได้  ขณะที่รากที่อยู่ในดินมีหน้าที่ยึดล�าต้นไว้มากกว่าหาอาหาร  การจัดการความอุดมสมบูรณ์

          ของดินและการใส่ปุ๋ยลงไปในดินจึงไม่มีความส�าคัญและมีประโยชน์น้อยมาก
                  ในระหว่าง พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2556 กรมการข้าวได้ด�าเนินการวิจัยเพื่อจัดท�าเขตศักยภาพ

          การผลิตข้าวของประเทศไทย  โดยรวบรวมฐานข้อมูลการศึกษารายจังหวัด  ประกอบด้วยข้อมูลพื้นที่การ
          ปลูกข้าว พันธุ์ข้าว ข้อมูลดิน การผลิตข้าวของเกษตรกร ค�าแนะน�าการผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
          รวมทั้งแผนที่แสดงศักยภาพการผลิตข้าวที่เหมาะสมด้วย  และสรุปว่าการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวโดยน�า

          ความเหมาะสมของพื้นที่ต่อการปลูกข้าวมาจัดระดับความอุดมสมบูรณ์  ร่วมกับการออกส�ารวจระดับ
          ผลผลิตที่ได้จากวิธีการที่เกษตรกรปฏิบัติ  จากนั้นก็แนะน�าเทคโนโลยีที่เหมาะสม  ตั้งแต่การใช้พันธุ์ข้าว

          วิธีปลูก  การควบคุมดูแลวัชพืช  การใช้ปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ดิน  สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวของประเทศ
          ได้สูงสุดร้อยละ 60 หรือเฉลี่ยร้อยละ 20 (ส�านักวิจัยและพัฒนาข้าว, 2556)













                    ั
          46    ประวติการปลูกข้าว และข้าวกับสภาพแวดล้อม              ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55