Page 47 -
P. 47

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






            นิเวศนาสวน  แล้วน�าข้าวกลับขึ้นไปบริโภคบนที่สูง  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงข้างต้นล้วนเป็นการปรับตัวของ
            กลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นผู้บริโภคข้าวบนพื้นที่สูงที่ปลูกข้าวไร่เดิม เพื่อความอยู่รอดและอยู่กับพื้นที่ต่อไปให้ได้



            3. นิเวศข้าวนาสวน (lowland rice ecosystem)

                    ข้าวนาสวนเป็นข้าวที่ปลูกในที่ลุ่มและมีระดับน�้าในนาลึกไม่เกิน 80 เซนติเมตร ส่วนมากท�าการ
            ปลูกแบบปักด�า การปลูกข้าวในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการปลูกข้าวนาสวน นิเวศข้าวนาสวนจ�าแนกได้

            เป็น 2 นิเวศย่อย (sub-ecosystem) คือ ข้าวนาสวนนาน�้าฝนและข้าวนาสวนนาชลประทาน
                 3.1 ข้าวนาสวนนาน�้าฝน (rainfed lowland rice)
                    เป็นพัฒนาการปลูกข้าวของมนุษย์ชาติในยุคต่อมา  ที่เห็นความส�าคัญของการขังน�้าในนาที่ช่วย

            แก้ปัญหาและช่วยควบคุมวัชพืชซึ่งเป็นตัวจ�ากัดผลผลิต  (yield  constraint)  ที่ส�าคัญ  รวมทั้งพบว่าข้าว
            ที่อยู่ในนาน�้าขังมีการเจริญเติบโตที่สม�่าเสมอและต่อเนื่อง  ในนิเวศย่อยนี้สามารถใช้พันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพ

            การให้ผลผลิตสูง  ร่วมกับการจัดการและการใส่ปัจจัยการผลิต  มาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตขึ้นมาได้อีก
            ระดับหนึ่ง แต่ความแปรปรวนของฝน ทั้งที่เว้นช่วงท�าให้แล้งและฝนตกหนักน�้าท่วมนา ประกอบกับความ

            อุดมสมบูรณ์ของดินนาที่ค่อนข้างต�่า ก็ยังเป็นข้อจ�ากัดและมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางการผลิตอยู่
                    ในประเทศไทยนิเวศย่อยนี้มีพื้นที่หลักอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ  คิดเป็นพื้นที่นา

            ประมาณครึ่งหนึ่งของนาข้าวทั้งประเทศ  ดังนั้น  หากสามารถเพิ่มศักยภาพการให้ผลผลิตของข้าวในพื้นที่
            จะมีผลกระทบสูงต่อค่าเฉลี่ยและผลผลิตข้าวรวมของประเทศไปด้วย  ในปัจจุบันกลุ่มพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกใน
            นิเวศย่อยนี้ที่ส�าคัญ คือ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่นับว่าเป็นข้าวหอมที่ดีที่สุดในระดับโลก ซึ่งที่มาเป็นพันธุ์

            ข้าวที่ได้จากการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในพื้นที่อ�าเภอบางคล้า  จังหวัดฉะเชิงเทรา  (ซึ่งอยู่ในนิเวศย่อย
            ข้าวน�้าลึก (deep water rice) นาดินเค็มใกล้ทะเล) น�าไปปลูกคัดเลือกพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวโคกส�าโรง

            จังหวัดลพบุรี (ในนิเวศย่อยนาน�้าฝน) ได้สายพันธุ์ (รวง/แถว) ที่ 105 จึงตั้งชื่อพันธุ์ว่า ขาวดอกมะลิ 105
            หลังจากนั้นได้น�าไปปลูกทั่วประเทศ  พบว่าปรับตัวได้ดีกับนาน�้าฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  โดยให้
            ผลผลิตดีและคุณภาพดีมาก  จึงถูกก�าหนดเขต  (zoning)  ให้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศร่วมกับ

            พื้นที่นาน�้าฝนในอีก  3  จังหวัดภาคเหนือตอนบน  คือ  เชียงราย  พะเยา  และเชียงใหม่  นอกจากนี้ยังมี
            พันธุ์ข้าวที่ส�าคัญและปลูกมากในนิเวศย่อยนาน�้าฝน คือ ข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 และข้าวเจ้าพันธุ์ กข 15

            ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้จากการน�าเมล็ดข้าวขาวดอกมะลิ  105  ไปอาบรังสีให้เกิดการกลายพันธุ์  (mutation)
            กระจายตัวแล้วคัดเลือกได้พันธุ์ใหม่ทั้งสอง ข้าวทั้ง 3 พันธุ์นี้จึงมีฐานพันธุกรรมเดียวกัน เป็นข้าวชนิดที่ไว

            ต่อช่วงแสง  มีก�าหนดเวลาในการออกรวงและเก็บเกี่ยวที่แน่นอนในรอบปี  มีความจ�าเพาะของการเจริญ
            เติบโตที่สอดคล้องกับการตกของฝนในนิเวศย่อยนาน�้าฝนของประเทศ

                    ด้านการจัดการเพาะปลูกข้าวในนิเวศย่อยนาน�้าฝน  นอกเหนือจากการใช้พันธุ์ที่เหมาะสมแล้ว
            เวลาปลูกและวิธีปลูกยังถูกก�าหนดโดยรูปแบบหรือสภาพการตกของฝนด้วย  ในอดีตที่แรงงานในภาค



                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว              ประวติการปลูกข้าว และข้าวกับสภาพแวดล้อม ั  43
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52