Page 44 -
P. 44

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






          เฉียงใต้)  ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  (ภาพที่  1.5)  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
          ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ ในพระราชนิพนธ์เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า “การแรกนา

          ที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
          เป็นธรรมเนียมนิยมมีมาแต่โบราณ  ซึ่งการ
          ลงมือท�าเองเช่นนี้  ก็เพื่อจะให้เป็นตัวอย่าง

          แก่ราษฎร ชักน�าให้มีใจหมั่นในการที่จะท�านา
          เพราะเป็นสิ่งส�าคัญที่จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิต

          ทั่วหน้า  เป็นต้นเหตุของความตั้งมั่น  และ
          ความเจริญไพบูลย์แห่งพระนครทั้งปวง”
                  พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนา

          ขวัญเป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณตั้งแต่             ภาพที่ 1.5  ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
          ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี  ซึ่งในสมัยนั้น    แสดงพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญของไทย
          พระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถเอง เป็นแต่เพียง         ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/

          เสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธี
                  ครั้งถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา  พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จไปเป็นองค์ประธานเหมือนกับสมัยกรุงสุโขทัย
          แต่จะมอบอาญาสิทธิ์ให้พระยาแรกนาท�าแทนองค์พระมหากษัตริย์ และจะทรงจ�าศีล 3 วัน ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้

          ตลอดมาถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา
                  สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการประกอบพระราชพิธีนี้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่  1  ผู้ท�าการแรกนา

          เปลี่ยนเป็นเจ้าพระยาพหลเทพคู่กันกับการยืนชิงช้า  พอถึงรัชกาลที่  3  ให้ถือว่าผู้ใดยืนชิงช้า  ผู้นั้นเป็น
          ผู้แรกนาด้วย ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดกล้าฯ ให้จัดมีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่างๆ ทุกพิธี
          ดังนั้น พระราชพิธีพืชมงคลจึงได้เริ่มมีขึ้นแต่บัดนั้นมา โดยได้จัดรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

          และมีชื่อเรียกรวมกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
                  ส�าหรับพระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีสงฆ์  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  4  ทรงก�าหนดให้มีขึ้น

          เป็นครั้งแรก  เป็นพิธีท�าขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่างๆ  เช่น  ข้าวเปลือกเจ้า  ข้าวเหนียว  ข้าวฟ่าง  ข้าวโพด  ถั่ว
          งา เผือก มัน เป็นต้น ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัยและให้อุดมสมบูรณ์
          เจริญงอกงามดี

                  การจัดงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ  ได้กระท�าเต็มรูปแบบตามประเพณี
          ดั้งเดิมครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2479 แล้วว่างเว้นไปจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2503 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ฟื้นฟู
          พระราชประเพณีนี้ขึ้นใหม่ และได้กระท�าติดต่อกันมาทุกปีจนถึงปัจจุบัน ด้วยเห็นว่าเป็นการรักษาพระราช

          ประเพณีอันดีงาม มีผลในการบ�ารุงขวัญและจิตใจของคนไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ องค์พระประมุข
          ปัจจุบัน ทรงมีพระราชกระแสให้ปรับปรุงพิธีการบางอย่างให้เหมาะสมกับยุคสมัย และเสด็จพระราชด�าเนิน
          มาเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีนี้ทุกปี



                    ั
          40    ประวติการปลูกข้าว และข้าวกับสภาพแวดล้อม              ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49