Page 43 -
P. 43
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นาคู่โค หรือนาน�้าท่า (ใช้น�้าจากแม่น�้าล�าคลอง) สามารถปลูกข้าวได้หลายครั้งในหนึ่งปี โดย
อาศัยน�้าฝนหรือน�้าท่า อยู่ในแขวงกรุงเก่า อ่างทอง สุพรรณบุรีและลพบุรี ทั้ง 4 หัวเมืองนี้เป็นนาที่ได้
ผลมาก ส่วนนาฟางลอย คือ นาปัก อาศัยแต่ด้วยน�้าฝนอย่างเดียว จึงคาดหมายผลการท�านาได้ยาก
นาคู่โคนี้ เมื่อทางราชการจัดพนักงานหรือข้าหลวงเดินนามาส�ารวจแล้ว จะออกหนังสือให้เจ้าของ
ที่นาถือไว้เป็นหลักฐานในการเรียกเก็บหางข้าวหรืออากรค่านาต่อไป หนังสือสัญญานี้เรียกว่า “ตราแดง”
7. ข้าวกับวัฒนธรรมไทย
เนื่องจากข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยมาแต่โบราณกาล และการปลูกข้าวเป็นอาชีพส�าคัญ
ของคนไทยด้วย ข้าวจึงมีคุณค่า ความหมาย และผูกพันกับชีวิตของคนไทยอย่างแน่นแฟ้น
6.1 วัฒนธรรมข้าว
“วัฒนธรรมข้าว” เป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย ซึ่งมี 3 ส่วน (ผ่องพันธุ์ 2551) คือ
1) การเคารพบูชาแม่โพสพ คนไทยเชื่อว่าในต้นข้าวมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือ “แม่โพสพ” เทพธิดา
ประจ�าต้นข้าวสถิตอยู่ และช่วยดูแลให้ต้นข้าวเจริญงอกงาม คัมภีร์ของศาสนาฮินดูกล่าวว่าแม่โพสพเป็น
ร่างอวตารของพระลักษมี (ชายาของพระนารายณ์) เนื่องจากทรงเป็นเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ คนไทย
ถือว่า “แม่โพสพ” มีบุญคุณจึงเคารพกราบไหว้ และมีพิธีบูชา “แม่โพสพ” ตลอดช่วงของการเพาะปลูก
แต่ละภาคของไทยมีประเพณีการบูชา “แม่โพสพ” แตกต่างกันไป
2) ส�านึกของคนไทยเรื่องความเคารพต่อข้าว เนื่องจากความเชื่อในข้อ 1) ที่ว่า “แม่โพสพ”
เป็นเทพธิดาประจ�าต้นข้าว ผู้เฒ่าผู้แก่จึงสั่งสอนลูกหลานให้ส�านึกในความเคารพต่อข้าว เช่น ไม่เหยียบย�่า
ข้าว ไม่สาดข้าวหรือท�าข้าวหก กินข้าวอย่างมีสติไม่เหลือทิ้ง กินเสร็จแล้วให้ไหว้แม่โพสพเพื่อขอบคุณ
3) ข้าวในส�านวนไทย เนื่องจากคนไทยอยู่ในวัฒนธรรมข้าว จึงใช้ค�าว่า “ข้าว” เปรียบเทียบ
กับสิ่งต่างๆ เช่น ข้าวยากหมากแพง ในน�้ามีปลาในนามีข้าว กินข้าวร้อนนอนสบาย ข้าวเหลือเกลือแพง
หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว เป็นต้น
6.2 พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในสมัยโบราณเป็นพิธีที่มีความมุ่งหมายเพื่อ
บ�ารุงขวัญและเตือนให้เริ่มเพาะปลูกพืชผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการท�านาซึ่งเป็นธัญญาหารหลักและ
ส�าคัญยิ่งของการด�ารงชีวิต ผู้ปกครองหรือผู้เป็นประมุขของประเทศ เมื่อถึงฤดูกาลที่ควรจะเริ่มลงมือ
เพาะปลูกพืชผล จึงต้องประกอบกรณียกิจเป็นผู้น�า โดยลงมือไถหว่านพืชพันธุ์ธัญญาหารเป็นตัวอย่าง
เพื่อเตือนว่าถึงเวลาประกอบการเพาะปลูกตามฤดูกาลแล้ว
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้นๆ ว่า พิธีแรกนา เป็นพิธีการเพื่อความเป็น
สิริมงคลและบ�ารุงขวัญเกษตรกร มีความมุ่งหมายอยู่ที่จะท�าให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร เพื่อชักน�าให้มี
ความมั่นใจในการท�านา นับเป็นพระราชพิธีอันส�าคัญยิ่งของบางประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ (ตะวันออก
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว ประวติการปลูกข้าว และข้าวกับสภาพแวดล้อม ั 39