Page 42 -
P. 42

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                   พ.ศ. 2515 กรมการข้าวและกรมกสิกรรมได้รวมกันเป็นกรมวิชาการเกษตร แล้วแยกหน่วยงาน
          ส่งเสริมของกรมการข้าวและกรมกสิกรรมเดิม  ไปรวมกันเป็นกรมส่งเสริมการเกษตร  ดังนั้นในระหว่าง

          พ.ศ. 2515-2548 สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตรจึงรับผิดชอบงานวิจัยและพัฒนาข้าว
                   พ.ศ. 2549 แยกงานวิจัยและพัฒนาข้าวจากกรมวิชาการเกษตร มาตั้งเป็นกรมการข้าวจนถึง

          ปัจจุบัน



          6. ประเภทของที่นาในอดีต
                   ในอดีตทางราชการของไทยได้จ�าแนกพื้นที่นาเป็น  2  แบบ  ตามระบบการเก็บค่านา  คือ
          นาฟางลอย กับ นาคู่โค ส�าหรับค่านาในสมัยรัชกาลที่ 2 เรียกว่าหางข้าว หรือภาษีหางข้าว ซึ่งหมายถึง

          ภาษีหรืออากรค่านาที่รัฐบาลเก็บเป็นข้าวเปลือก  ในสมัยรัชกาลที่  2  คิดอากรค่านาในอัตราไร่ละสองสัด
          ครึ่ง (1 สัดเท่ากับ 20 ลิตร) แต่มีวิธีประเมินต่างกันระหว่างนาฟางลอยกับนาคู่โค ในปี พ.ศ. 2369 คือ

          ตอนต้นรัชกาลที่ 3 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการเก็บภาษีอากรข้าวเปลือก “หางข้าว” มาเป็นเงิน “ค่านา”
          โดยให้เรียกเก็บเป็นค่านาไร่ละสลึงเฟื้อง เสมอกันไปทั้งนาคู่โคและนาน�้าฝนฟางลอย (นิรนาม, 2557 ข.

          และ ค.)
                   1) นาฟางลอย  คือ  นาป่าที่เจ้าของเสียค่านาตามเนื้อที่ซึ่งได้ปลูกข้าว  โดยฟางลอย  หมายถึง

          “ฟางที่ปรากฏอยู่” ผิดกับนาคู่โคซึ่งต้องเสียค่านาเต็มตามโฉนด อาจเรียกนาฟางลอยตามภูมิประเทศของ
          ที่นา  เช่น  นาน�้าฝน  นาฟาง  นาทุ่ง  นาป่า  นาไร่  นาข้าวเรือ  และนาปรัง  (ปัจจุบันเรียกข้าวขึ้นน�้าว่า
          ข้าวฟางลอย)

                   สภาพของนาฟางลอย หรือ นาดอน เป็นนาที่ใช้ปลูกข้าวโดยอาศัยน�้าฝนเพียงอย่างเดียว เพราะ
          อยู่ในที่ดอน  ดังนั้นน�้าท่า  (น�้าในแม่น�้าล�าคลอง)  จึงขึ้นไม่ถึง  วิธีเก็บภาษีหางข้าวส�าหรับนาประเภทนี้

          เก็บจากนาที่สามารถปลูกข้าวได้จริง ถ้าปีใดไม่ได้ท�าหรือท�าไม่ได้ ก็ไม่ต้องเสียอากรค่านา และถือเอา
          ขนาดพื้นที่ซึ่งมีตอฟางที่เก็บเกี่ยวแล้ว เป็นเกณฑ์ในการเก็บค่านา
                   ก่อนจะถึงฤดูกาลท�านา ทางราชการจัดพนักงานหรือข้าหลวงเดินนา มาส�ารวจแล้วจะออกหนังสือ

          ให้เจ้าของที่นาถือไว้เป็นหลักฐาน  ส�าหรับการเรียกเก็บหางข้าวหรืออากรค่านาต่อไป  หนังสือสัญญานี้
          เรียกว่า “ใบจอง”

                   2) นาคู่โค  คือ  นาที่ได้ท�ามาแล้วนาน  เป็นนาดี  ท�าแล้วไม่ค่อยเสียหาย  นาประเภทนี้ต้องเสีย
          ค่านาตามหน้าโฉนดทุกๆ ปี ผิดกับนาฟางลอย ซึ่งต้องเสียค่านาแต่เฉพาะในปีที่ปลูกข้าว ที่เรียกว่านาคู่โค

          เพราะวิธีเก็บหางข้าวนาชนิดนี้นับจ�านวนโค  (กระบือ)  ที่ใช้ท�านาในที่นั้นๆ  ด้วย  ถือว่าโคคู่หนึ่งคงจะ
          ท�านาในที่เช่นนั้นได้ผลประมาณปีละเท่าใด  จึงถือเอาเกณฑ์จ�านวนโคขึ้นตั้งเป็นอัตราหางข้าวที่จะต้องเสีย

          เพราะฉะนั้นนาคู่โคซึ่งเป็นนาดี ถึงจะท�าหรือไม่ท�าก็ต้องเสียหางข้าว





                    ั
          38    ประวติการปลูกข้าว และข้าวกับสภาพแวดล้อม              ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47