Page 37 -
P. 37

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                     3) ปลูกข้าว เพื่อท�าให้ข้าวเป็นพืชปลูกใกล้ที่พ�านัก จากที่ได้สังเกตว่าเมล็ดข้าวงอกได้ จึงรวบรวม
            เมล็ดไปหว่านในพื้นดินบริเวณใกล้ที่อยู่อาศัย ดูแล คัดเลือก จนได้ชนิดข้าวที่เหมาะกับการปลูกในพื้นที่นั้น

                     กระบวนการทั้ง  3  ส่วนนี้เชื่อมโยงกัน  กลายเป็นการปฏิวัติการปลูกข้าว  ซึ่งใช้เวลาประมาณ
            4,000 ปี ที่ใดมีหลักฐานทางโบราณคดีแสดงว่ามนุษย์มีกิจกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนที่อื่น จะเรียกที่นั้นว่า
            แหล่งก�าเนิดข้าว และเชื่อกันว่าแหล่งก�าเนิดอยู่ในเอเชียอาคเนย์ (Leonard, 1974)

                     การใช้เทคนิคก�าหนดอายุทางโบราณคดีสมัยใหม่ พบว่าการปลูกข้าวเริ่มเมื่อประมาณ 11,500 ปี
            มาแล้วในเอเชียอาคเนย์  ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับการปลูกข้าวสาลีในแถบ  “ดินแดนวงพระจันทร์เสี้ยว

            ไพบูลย์”  หรือแหล่งก�าเนิดการเกษตร  4  แห่ง  อันได้แก่  อียิปต์ตอนใต้  ลุ่มแม่น�้ายูฟราตีส  ลุ่มแม่น�้า
            ไทกรีสและชายฝั่งของอ่าวเปอร์เชีย ส่วนหลักฐานในวัฒนธรรมลุงซาน ประเทศจีน และวัฒนธรรมฮัวบิเนียน
            ประเทศเวียดนาม แสดงว่ามีการปลูกข้าวแบบท�าไร่เลื่อนลอยเมื่อ 10,000 ปีมาแล้ว ส่วนการท�านาหว่าน

            ตามหลักฐานวัฒนธรรมยางเชา  บริเวณลุ่มแม่น�้าเหลือง  ในวัฒนธรรมลุงชานประเทศจีน  และวัฒนธรรม
            ฮัวบิเนียน ประเทศเวียดนาม แสดงว่าเริ่มเมื่อ 5,000-10,000 ปีมาแล้ว (นิรนาม, 2557ก)

                 3.3 ข้าวในสุวรรณภูมิ
                     การท�านาแบบปักด�าเป็นวิธีการที่พัฒนาขึ้นภายหลัง เนื่องจากพบหลักฐานในวัฒนธรรมบ้านเชียง
            ประเทศไทยซึ่งมีอายุไม่ต�่ากว่า  5,000  ปี  เป็นการพบเมล็ดข้าวที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย  มีลักษณะ

            คล้ายข้าวปลูกของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์อายุราว  3,000-3,500  ปี  ก่อนคริสต์ศักราช  พบแกลบ
            ซึ่งเป็นส่วนผสมของดินที่ใช้ปั้นภาชนะดินเผาที่โนนนกทา  ต�าบล

            บ้านโคก  อ�าเภอภูเวียง  จังหวัดขอนแก่น  เหล่านี้เป็นหลักฐาน
            ที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเก่าแก่ที่สุด คือประมาณ 3,500 ปี ก่อน
            คริสต์ศักราช แสดงว่าสุวรรณภูมิอันเป็นที่ตั้งของประเทศไทยเป็น

            แหล่งปลูกข้าวมาช้านาน  และเริ่มในช่วงเวลาใกล้เคียงกับมนุษย์
            ในส่วนอื่นของโลก (กรมการข้าว. 2552) หลักฐานทางโบราณคดี

            ที่ส�าคัญ ได้แก่

                     1) เมล็ดข้าวดึกด�าบรรพ์  นักโบราณคดีขุดค้นพบ

            “เมล็ดข้าวดึกด�าบรรพ์”  ที่ถ�้าปุงฮุง  จังหวัดแม่ฮ่องสอน  รวมทั้ง
            แกลบที่เป็นส่วนผสมในเครื่องปั้นดินเผา (ภาพที่ 1.2) ในเครื่องปั้น  ภาพที่ 1.2 ภาชนะเขียนสี ขุดพบ
            ดินเผาที่พบในจังหวัดขอนแก่นและอุดรธานี  แสดงว่ามีการปลูก     ที่ต�าบลบ้านเชียง อ�าเภอหนองหาน

            ข้าวในแถบนี้ เมล็ดข้าวที่ขุดพบในถ�้าปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน   จังหวัดอุดรธานี หม้อบ้านเชียงใบนี้
            มีทั้งลักษณะข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่  ที่เจริญงอกงามอยู่ในที่สูง   มีอายุราว 2,300-1,800 ปี

            เป็นข้าวไร่และข้าวเจ้า  แสดงว่ามีการปลูกข้าวในบริเวณนี้เมื่อ   ที่มา: http://www.sujitwongthes.
            3,000-3,500  ปี  ก่อนคริสต์ศักราช  หรือราว  5,400  ปีมาแล้ว  com/suvarnabhumi/



                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว              ประวติการปลูกข้าว และข้าวกับสภาพแวดล้อม ั  33
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42