Page 36 -
P. 36

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






          แหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์  ต่อมามนุษย์มีการรบกวนชุมชีพพืชและสัตว์ (flora and fauna community)
          มากขึ้น  เช่น  บางกลุ่มใช้วิธีอัคคีเกษตรกรรม  (fire-stick  farming)  หรือเผาป่าเพื่อความสะดวกในการ

          ล่าสัตว์และให้พืชใหม่งอกงามขึ้นมาทดแทน  จนกระทั่งถึงยุคที่มีเครื่องมือขุดดินซึ่งเริ่มจากหินและต่อมา
          เป็นโลหะ การปลูกพืชจึงท�าได้มากขึ้น

                   เกษตรกรรมบรรพกาลเริ่มประมาณ 1 หมื่นปีก่อนคริสต์กาล เมื่อมนุษย์หยุดการเร่ร่อนไปล่าสัตว์
          และเก็บของป่า  แล้วแบกหามมายังที่พ�านักเพื่อเป็นอาหาร  เปลี่ยนวิถีชีวิตโดยเริ่มตั้งถิ่นฐานแล้วปลูกพืช

          และเลี้ยงสัตว์ใกล้ที่อยู่อาศัย เชื่อกันว่าการเกษตรยุคแรกซึ่งมนุษย์มีการเพาะปลูกพืชและเก็บเกี่ยวผลผลิต
          อย่างมีแบบแผน  เกิดในเวลาไล่เลี่ยกันหลายที่  เช่น  เมโสโปเตเมีย  อียิปต์  อินเดีย  จีนตอนใต้  แอฟริกา
          และนิวกินี  ส�าหรับเมโสโปเตเมีย  (Mesopotamia)  ซึ่งกล่าวถึงกันมากนั้น  แปลว่า  “ที่ระหว่างแม่น�้า”

          (meso  =  กลาง  +  potamia  =  แม่น�้า)  เป็นดินแดนระหว่างแม่น�้าไทกริสและแม่น�้ายูเฟรทีส  บริเวณ
          ดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของ  “ดินแดนวงพระจันทร์เสี้ยวไพบูลย์”  (Fertile  Crescent)  ซึ่งมีลักษณะรูป

          ครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนจรดอ่าวเปอร์เซีย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ
          ประเทศอิรัก
                   การที่มนุษย์รู้จักปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ท�าให้เปลี่ยนสภาพจากกลุ่มคนเร่ร่อนมามีวิถีชีวิตอยู่เป็น

          ที่เป็นทาง และเริ่มต้นการปฏิวัติวัฒนธรรม ซึ่งมีผลกระทบอย่างยิ่งใหญ่ต่อพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม
               3.2 แหล่งก�าเนิดของข้าว

                   ข้าวเป็นอาหารของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มต้นของการเกษตร โดยมนุษย์เก็บเกี่ยวข้าวป่ามากิน แล้วจึง
          ปลูกเองในภายหลัง โดยมีพัฒนาการ 3 ขั้นตอน คือ

                                                      1) มนุษย์เก็บเมล็ดธัญพืชและผลไม้หลายอย่าง

                                             จากธรรมชาติ  รวมรวมสิ่งที่เก็บได้น�ากลับมากิน  ณ  ที่พ�านัก
                                             พืชผลเหล่านั้นมีในธรรมชาติและเป็นไปตามฤดูกาล มนุษย์

                                             จึงสะสมความรู้ด้านธรรมชาติวิทยาว่าพืชใดอยู่แถบไหนและ
                                             ผลิดอกออกผลเมื่อใด ส�าหรับมนุษย์บางกลุ่มที่มีความชื่นชอบ

                                             การกินข้าว  ก็เที่ยวเสาะหาข้าวในแหล่งธรรมชาติ  ซึ่งมีอยู่ใน
                                             บางพื้นที่ตามฤดูกาล จนมีความช�านาญในการสังเกตพื้นที่และ
                                             ฤดูกาลซึ่งมีต้นข้าวออกรวง  พิจารณาเลือกข้าวที่มีลักษณะ

                                             น่าพึงพอใจ  แล้วเจาะจงเก็บมาเฉพาะข้าวที่พึงพอใจเท่านั้น

          ภาพที่ 1.1   เกษตรกรยุคแรก  เก็บ   ดังภาพที่ 1.1
          เมล็ดธัญพืชจากธรรมชาติ  ก่อนที่จะ           2) ดูแลข้าวในแหล่งธรรมชาติอันเป็นที่ต้องการ
          เรียนรู้การปลูกเอง                 โดยถอนพืชอื่นที่แซมต้นข้าวและไม่ต้องการออกไป  เพื่อให้
          ที่มา: Leonard (1974)
                                             ข้าวเป็นหลักของชุมชีพพืชในบริเวณดังกล่าว


          32    ประวติการปลูกข้าว และข้าวกับสภาพแวดล้อม              ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
                    ั
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41