Page 34 -
P. 34
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ระบบนิเวศข้าว หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้าวกับองค์ประกอบต่างๆ ของระบบนิเวศ คือ
(1) องค์ประกอบของระบบนิเวศที่มีชีวิต ได้แก่ พันธุ์ข้าว วัชพืช สัตว์และจุลินทรีย์ทั้งที่เป็นศัตรูข้าวและ
เป็นประโยชน์ต่อข้าว ระบบนิเวศข้าวมีชาวนาเป็นผู้ก�าหนดวิธีการปลูกและกระบวนการผลิตข้าว (2)
สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตข้าว ได้แก่ ดิน น�้าและภูมิอากาศ และ (3) ชาวนาอยู่ภายใต้
ระบบเศรษฐกิจ สภาพสังคมและวัฒนธรรม (IRRI, 1984) ดังนี้
1) องค์ประกอบทางชีวภาพ องค์ประกอบประเภทมีชีวิตและเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิต
โดยตรง จ�าแนกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) พืชปลูกมีข้าวเป็นหลักและมีพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ประกอบในระบบ
การปลูกพืช (2) สัตว์เลี้ยงของชาวนา เช่น วัวควายส�าหรับใช้แรงงานซึ่งกินฟางข้าว สุกร เป็ดและไก่กิน
เศษข้าวและร�าข้าว เป็นการหมุนเวียนสสารและพลังงานภายในระบบ (3) พืช สัตว์และจุลินทรีย์ธรรมชาติ
ทั้งที่เป็นคุณและเป็นโทษต่อต้นข้าว และ (4) ชาวนาในฐานะผู้ควบคุมระบบการผลิต
2) องค์ประกอบทางกายภาพ องค์ประกอบนี้เป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต เช่น ดิน ภูมิอากาศ
แหล่งน�้าธรรมชาติ คลองชลประทาน ยุ้งฉาง เส้นทางทางคมนาคม เครื่องมือกลและยานพาหนะ
เนื่องจากดินเป็นองค์ประกอบของระบบนิเวศข้าวที่ส�าคัญ และมีผลต่อการเจริญเติบโตของ
ข้าวอย่างมาก จึงแยกเรื่องดินเป็นอีก 2 บท คือ บทที่ 2 ธรรมชาติของดินนา และบทที่ 3 การจ�าแนกดิน
ที่ใช้ปลูกข้าว เพื่อจะได้อธิบายเรื่องดังกล่าวโดยละเอียด (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548 ; 2555)
3) องค์ประกอบทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ระบบนิเวศของข้าวมิใช่มีเฉพาะที่นา
ต้นข้าวและชาวนาเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของครอบครัว
ชาวนา คนในหมู่บ้าน ต�าบล อ�าเภอและจังหวัด ส�าหรับประเทศไทยซึ่งมีข้าวเป็นพืชเศษฐกิจหลัก และ
ปลูกข้าวกันทุกจังหวัด องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้จึงเชื่อมโยงกันทั้งประเทศ และได้รับผลกระทบจาก
ความเป็นไปในภูมิภาคและของโลกด้วย
องค์ประกอบทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของประเทศซึ่งกระทบกับการผลิตข้าว มี 6
ประการ ได้แก่ (1) รัฐผู้ก�าหนดกฎหมาย ระเบียบและนโยบายด้านการผลิต สินเชื่อและการค้า การ
ส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิต การพัฒนาระบบชลประทานและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม (2) กลไก
การตลาดทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งมีอิทธิพลต่อราคาผลผลิตและราคาปัจจัยการผลิต
รวมทั้งสถานการณ์การผลิตธัญพืชชนิดอื่นของโลก (3) ฐานะทางเศรษฐกิจของคนในสังคมและผู้บริโภค
ซึ่งเกี่ยวข้องกับก�าลังซื้อ (5) ความต้องการและค่านิยมของผู้บริโภค ในการก�าหนดรูปลักษณ์และระดับ
คุณภาพของข้าวที่มนุษย์ในแต่ละสังคมมีความชื่นชอบ และ (6) วัฒนธรรม ความเชื่อและวิถีชีวิตของ
มนุษย์ในสังคม
2. ความส�าคัญของข้าว
ข้าวมีความส�าคัญในฐานะเป็นพืชเศรษฐกิจ และมีความเชื่อมโยงกับสังคมและวัฒนธรรม ดังนี้
ั
30 ประวติการปลูกข้าว และข้าวกับสภาพแวดล้อม ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว