Page 35 -
P. 35

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                 2.1 ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจ
                     ในบรรดาธัญพืช  (cereal  พืชในวงศ์  Poaceae  ซึ่งให้เมล็ดเป็นอาหารหลัก)  ที่ส�าคัญของโลก

            เช่น ข้าว ข้าวสาลีและข้าวโพด ข้าวเป็นพืชที่น่าสนใจเนื่องจากสาเหตุ 3 ประการ คือ
                     1) ข้าวเป็นพืชมหัศจรรย์เพราะเจริญเติบโตได้ในสภาพที่เป็นดินไร่และดินนาน�้าขัง
                     2) ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส�าคัญของโลก  เนื่องจากเป็นอาหารหลักของประชากรประมาณ

            สามพันล้านคน ซึ่งอาหารให้พลังงาน 30-75 % มาจากการบริโภคข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเอเชีย
            แอฟริกาและอเมริกาใต้

                     3) ข้าวเป็นธัญพืชที่มีความส�าคัญเป็นล�าดับที่ 3 ของโลก รองจากข้าวสาลีและข้าวโพด ส�าหรับ
            ข้าวโพดนั้น ส่วนใหญ่ปลูกเพื่อจุดประสงค์อื่นมิใช่ให้มนุษย์บริโภค พื้นที่ปลูกข้าวของโลกมีประมาณ 23 %
            ของพื้นที่ปลูกธัญพืชทั้งหมด

                 2.2 ข้าวในมิติทางสังคมและวัฒนธรรม
                     ในด้านสังคมและวัฒนธรรมนั้น  หากเน้นเฉพาะประเทศไทย  จะเห็นได้ว่าคนไทยปลูกข้าว

            มาช้านาน  และกินข้าวเป็นอาหารหลักตั้งแต่เกิดจนตาย  ข้าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตไทยที่ไม่สามารถ
            แยกออกจากกันได้  วัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ  ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย  ส่วนหนึ่งมีข้าวเป็นแรงบันดาลใจ
            ให้เกิดวัฒนธรรมและประเพณีเหล่านั้น  ชาวนาไทยมีการเรียนรู้และสะสมภูมิปัญญาในการผลิตข้าว  และ

            ถ่ายทอดภูมิปัญญาจากอดีตสู่ปัจจุบัน  จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง  เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับ
            สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาอันยาวนาน  ความรู้เรื่องระบบนิเวศของข้าว  จึงเชื่อมโยง

            ประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมไทย


            3. ความเป็นมาของการปลูกข้าว

                     การปลูกข้าวมีความเป็นมาที่คู่ขนานกับการเกษตร ข้าวมีแหล่งก�าเนิดในเอเชียอาคเนย์ สุวรรณภูมิ
            จึงเป็นอู่อารยธรรมของข้าวแหล่งหนึ่ง  และชีวิตคนไทยผูกพันกับข้าวจนมีเรื่องราวของข้าวกับวัฒนธรรมไทย

            หัวข้อนี้เริ่มจากความเป็นมาของการเกษตร แล้วอธิบายแหล่งก�าเนิดของข้าวและข้าวในสุวรรณภูมิ
                 3.1 ความเป็นมาของการเกษตร
                     การเกษตร  (agriculture)  ในปัจจุบันหมายถึงภาคเศรษฐกิจอันประกอบด้วยการปลูกพืช

            เลี้ยงสัตว์  ป่าไม้และประมง  แต่การเกษตรยุคบรรพกาล  เป็นกิจกรรมที่มนุษย์เริ่มจากความพยายาม
            ท�าให้พืชและสัตว์ป่ามาอยู่ใกล้ที่พ�านัก (domestication) โดยการน�าพืชมาปลูกในพื้นที่ซึ่งเตรียมไว้ และ

            น�าสัตว์ที่ต้องการมาท�าให้เชื่องแล้วเลี้ยง เพื่อช่วยให้การด�ารงชีวิตสะดวกสบายขึ้น
                     เมื่อประมาณ  12,000  ปีมาแล้วมนุษย์ในโลกมีประมาณ  5  ล้านคน  กระจายอยู่ในแถบต่างๆ
            ยังชีพด้วยการล่าสัตว์และเก็บส่วนของพืชบางชนิดมากิน เป็นกิจกรรมไล่ล่าและรวบรวมอาหาร (hunting

            and food gathering) ทั้งจากสัตว์และพืช ผู้คนอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ละไม่เกิน 250 คน และเร่ร่อนไปหา




                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว              ประวติการปลูกข้าว และข้าวกับสภาพแวดล้อม ั  31
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40