Page 38 -
P. 38

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                   2) เมล็ดข้าวในหลุมฝังศพ  นักโบราณคดีพบซากเมล็ดข้าวโรยอยู่รอบๆ  โครงกระดูกมนุษย์
          ที่มีอายุราว 5,600 ปี ที่อ�าเภอบ้านเชียง อ�าเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี แหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียง

          จังหวัดอุดรธานี  พบแกลบข้าวผสมอยู่กับดินที่น�ามาปั้นภาชนะดินเผา  มีอายุใกล้เคียงกับแกลบข้าวที่ถ�้า
          ปุงฮุง คือ ประมาณ 5,400 ปีมาแล้ว



          4. พระมหากษัตริย์กับข้าวไทย
                   ข้อสรุปทางโบราณคดีเมื่อปี  พ.ศ.  2553  คือ  คนไทยปลูกข้าวมาแล้วราว  5,400  ปี  ผลของ

          การขุดค้นที่โนนนกทา  สนับสนุนสมมุติฐานที่ว่า  ข้าวนั้นได้เริ่มปลูกในแถบเอเชียอาคเนย์ในสมัยหินใหม่
          จากนั้นจึงแพร่ขึ้นไปที่ประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี (ที่มา : http://www.kiddeetumdee.net/
          book/book) บทบาทของพระมหากษัตริย์กับข้าวไทย เริ่มตั้งแต่สมัยสุโขทัย ต่อมายังสมัยอยุธยา จนถึง

          กรุงรัตนโกสินทร์

                                                     4.1 ข้าวสมัยสุโขทัย
                                                           กรุงสุโขทัยมีความรุ่งเรืองทั้งการผลิตและ

                                                   การค้าข้าว  ดังข้อความในศิลาจารึกหลักที่  1  ซึ่ง
                                                   พ่อขุนรามค�าแหงมหาราชโปรดเกล้าฯ  ให้สลักจารึก

                                                   เหตุการณ์เมื่อ พ.ศ. 1835 หรือ 722 ปีที่แล้ว ตอนหนึ่ง
                                                   ถอดความเป็นค�าปัจจุบันว่า “เมื่อชั่วพ่อขุนรามค�าแหง
                                                   เมืองสุโขทัยนี้ดี  ในน�้ามีปลา  ในนามีข้าว  เจ้าเมือง

                                                   บ่เอาจังกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย
                                                   ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้า

                                                   เงินค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส” (ภาพที่ 1.3)
          ภาพที่ 1.3 ศิลาจารึกสุโขไท หลักที่ 1       4.2 ข้าวสมัยกรุงศรีอยุธยา
          ที่มา : http://www.baanjomyut.com/li-
          brary_2/king_ramkhamhaeng_inscription/           ข้าวเป็นพืชหลักของไทยมาแต่โบราณกาล
                                                   จึงมี  “กรมนา”  เป็นหนึ่งในสี่ของจตุสดมภ์  ส�าหรับ

          จตุสดมภ์ (มาจากค�าบาลี “จตุ” หมายถึง สี่ และสันสกฤต สฺตมฺภ หมายถึง หลัก รวมหมายถึง “หลักสี่”)
          เป็นระบบการปกครองส่วนกลางภายในกรุงศรีอยุธยาสมัยอยุธยาตอนต้น  เริ่มในรัชสมัยสมเด็จพระรามา
          ธิบดีที่  1  (พระเจ้าอู่ทอง)  จตุสดมภ์แบ่งออกเป็น  4  กรม  มีหัวหน้าเรียกว่าขุน  ฐานะเทียบเท่าเสนาบดี

          แบ่งออกเป็น
                   1) กรมเวียง มีขุนเวียงเป็นหัวหน้า ท�าหน้าที่ดูแลความสงบสุขของบ้านเมืองและราษฎร

                   2) กรมวัง มีขุนวังเป็นหัวหน้า ท�าหน้าที่ดูแลราชส�านักและคดีความ
                   3) กรมคลัง มีขุนคลังเป็นหัวหน้า ท�าหน้าที่เก็บรักษาและจ่ายพระราชทรัพย์ในราชการ



                    ั
          34    ประวติการปลูกข้าว และข้าวกับสภาพแวดล้อม              ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43