Page 46 -
P. 46
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติและการอพยพย้ายถิ่นฐานไปสู่พื้นที่ซึ่งมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม
ส�าหรับการเพาะปลูกข้าว สภาพภูมิอากาศที่มีการกระจายตัวของน�้าฝนสม�่าเสมอ ประกอบกับพันธุ์ข้าว
(G) ที่ใช้เพาะปลูกมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมและศัตรูพืชอยู่ในฐานพันธุกรรมที่หลากหลาย และมี
ข้อจ�ากัดในด้านศักยภาพการให้ผลผลิตต�่า ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ผ่าน
พัฒนาการปรับตัวมาพร้อมกับการโยกย้ายถิ่นฐานจากตอนเหนือในเขตอบอุ่น (temperate zone) มาสู่
พื้นที่ภาคเหนือของประเทศในปัจจุบันซึ่งอยู่ในเขตร้อน (tropical zone) พันธุ์ข้าวพื้นเมืองนี้ส่วนใหญ่
จัดอยู่ในกลุ่มข้าวจาปอนิกาในเขตร้อน (tropical japonica) โดยมีลักษณะทรงต้นและเมล็ดคล้ายกับ
ข้าวชนิดอินดิกา (indica type) แต่สมบัติทางเคมีของเมล็ดและลักษณะทางพันธุกรรม (DNA) เป็นข้าว
ชนิดจาปอนิกา ในด้านการจัดการ (M) มีเพียงการถากถางและเผา (slash and burn) เตรียมพื้นที่
แล้วปลูกโดยการหยอดเมล็ดลงหลุม เมื่อฝนตกต้นข้าวจะงอกและเจริญเติบโตขึ้นมา หากมีวัชพืชขึ้น
จะใช้แรงคนถอนหรือใช้จอบถากวัชพืชออก รวมถึงการเก็บเกี่ยวข้าวก็ใช้แรงงานคนเป็นหลัก ซึ่งสร้าง
ความมั่นคงทางการผลิต ท�าให้มีปริมาณข้าวส�าหรับบริโภคในพื้นที่ได้ในระดับหนึ่ง นับว่าเป็นจุดเริ่มต้น
ของพัฒนาการปลูกข้าวของคนในอดีต ที่มีข้อจ�ากัดทางด้านเครื่องมือและเทคโนโลยี แต่มีแรงงานอยู่ใน
พื้นที่หรือในครัวเรือนเป็นจ�านวนมาก จึงใช้ประโยชน์ด้านสภาพพื้นที่เป็นหลักในการผลิตข้าว
แต่ระบบนิเวศนี้ยังขาดความยั่งยืนต่อเนื่อง เห็นได้จากสถานการณ์ในปัจจุบันที่การอพยพย้าย
ถิ่นฐานได้ยุติลงแล้ว ท�าให้การปลูกข้าวไร่จ�าเป็นต้องใช้วิธีการหมุนเวียนพื้นที่หรือที่เรียกว่า “ไร่เลื่อนลอย”
ซึ่งมีผลกระทบต่อนโยบายการรักษาป่าต้นน�้า และการพักตัวของดินไม่ทันต่อรอบการปลูก จึงต้องเพิ่ม
พื้นที่มากขึ้นตามจ�านวนประชากรในพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นด้วย ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ (climate
change) ในปัจจุบัน ทั้งความแห้งแล้งและน�้าท่วมฉับพลัน ก็ท�าให้ความมั่นคงของการผลิตข้าวในนิเวศนี้
ลดลงไปมากด้วย การใช้พันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตสูงมาปลูกในนิเวศนี้ได้ผลน้อย เพราะมีข้อ
จ�ากัด ไม่สามารถใส่การจัดการและปัจจัยการผลิต (Input) ทั้งด้านธาตุอาหารพืช (ปุ๋ย) และน�้าตามความ
ต้องการของพันธุ์ข้าว (crop requirement) ได้ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมและ
ความเจริญของบ้านเมือง พื้นที่ปลูกข้าวในนิเวศนี้จึงมีแนวโน้มลดลงและลดความส�าคัญลงไปในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีความพยายามพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมของข้าวไร่ให้เป็นนาสวน
ในลักษณะขั้นบันได (terrace rice) เพื่อใช้ประโยชน์จากน�้า การจัดการและการใส่ปัจจัยการผลิต ร่วมกับ
การใช้พันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตสูงขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ซึ่งสามารถเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ได้มากถึง
2 เท่าของข้าวไร่เดิม แต่ก็ยังมีข้อจ�ากัดด้านแหล่งน�้าส�ารองที่หาได้ค่อนข้างยากในพื้นที่สูง ดังนั้น ในพื้นที่
สูงของภาคเหนือในปัจจุบันจึงมีการปรับเปลี่ยนด้านการผลิตและการปรับตัวของผู้บริโภค ตามสภาพการ
เปลี่ยนแปลงของการคมนาคมและความเจริญของบ้านเมือง กล่าวคือ ส่วนหนึ่งอพยพมาอยู่ในชุมชนเมือง
พื้นราบ ส่วนหนึ่งปลูกพืชที่ให้รายได้สูง (เช่น พืชผักและผลไม้เมืองหนาว) น�ามาจ�าหน่าย แล้วซื้อข้าว
จากชุมชนเมืองขึ้นไปบริโภคแทน ในปัจจุบันมีอีกส่วนหนึ่งที่ใช้วิธีเช่าหรือซื้อนาในพื้นที่ราบ ปลูกข้าวใน
ั
42 ประวติการปลูกข้าว และข้าวกับสภาพแวดล้อม ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว