Page 48 -
P. 48
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เกษตรยังมีอยู่มากนั้น วิธีปลูกส่วนใหญ่เป็นแบบปักด�า โดยการตกกล้าข้าวตั้งแต่เริ่มมีฝนตกลงมา
หลังจากนั้นก็ขึ้นกับปริมาณน�้าฝน เมื่อมีน�้าขังในนาแล้วจึงไถ คราด และท�าเทือกดินนา แล้วจึงถอน
ต้นกล้ามาปักด�า โดยไม่สามารถก�าหนดอายุกล้าข้าวได้ ดังนั้นในปีที่ฝนตกผิดปรกติ โดยเฉพาะฝนทิ้งช่วง
ต้นฤดู จะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโดยตรง ส่วนฝนทิ้งช่วงกลางถึงปลายฤดูปลูก
มีผลกระทบต่อข้าวน้อยกว่า หากไม่ทิ้งช่วงนานเกินไป เพราะต้นข้าวสามารถทนแล้งได้ระดับหนึ่งและมี
ช่วงเวลาการเจริญเติบโตที่มากพอ เพราะวันออกดอกที่ถูกก�าหนดโดยความไวต่อช่วงแสงของพันธุ์ข้าว
ในปัจจุบัน แรงงานภาคเกษตรได้โยกย้ายสู่ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ แรงงานในการ
ท�านาในพื้นที่นาน�้าฝนจึงมีจ�ากัดและเป็นแรงงานสูงวัยด้วย วิธีการท�านาจึงปรับเปลี่ยนไปเป็นการไถพรวน
ดินแห้งด้วยรถแทรกเตอร์ ตามด้วยการปลูกแบบหว่านข้าวแห้ง แล้วคราดกลบเมล็ดในช่วงต้นฤดูฝน (เดือน
พฤษภาคม-มิถุนายน) หลังจากนั้นเมื่อฝนตกลงมา (ซึ่งอาจใช้เวลามากน้อยต่างกัน) เมล็ดข้าวจะงอกขึ้นมา
พร้อมกับเมล็ดวัชพืชชนิดที่งอกได้ในสภาพไร่ (upland/dry land weeds) และเจริญเติบโตไปได้ระยะหนึ่ง
เมื่อปริมาณน�้าฝนมากพอจะมีน�้าขังในนาท�าให้ต้นวัชพืชตาย ขณะที่ต้นข้าวยังคงอยู่ในสภาพน�้าขังและ
เจริญเติบโตต่อไปได้
การใส่ปุ๋ยหรือให้ธาตุอาหารพืชจึงต้องค�านึงถึงประเด็นนี้ให้มาก เพราะหากใส่ก่อนวัชพืชตาย
หรือไม่มีการก�าจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ย เท่ากับเป็นการส่งเสริมการแข่งขัน (competitiveness) ของวัชพืช
ซึ่งมีความสามารถดูดใช้ปุ๋ยได้ดีกว่าข้าว อีกประการหนึ่ง การใส่ปุ๋ยข้าวในนิเวศย่อยนาน�้าฝนจะต้อง
พิจารณาเรื่องช่วงเวลาส�าหรับการเจริญเติบโตของข้าว ซึ่งทราบและก�าหนดจ�านวนวันได้หลังจากข้าว
งอกแล้ว เมื่อน�ามาประกอบกับข้อมูลความอุดมสมบูรณ์ของดินนา ต้นข้าวอาจจะใช้ธาตุอาหารพืชที่มี
อยู่ในดินได้อย่างเพียงพอ ในเวลาที่มีเพียงพอส�าหรับการเจริญเติบโตด้วย หากใส่ปุ๋ยเพิ่มเข้าไปอีกโดย
คิดว่าจะได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นไปอีก อาจจะท�าให้ต้นข้าวเสียสมดุลธาตุอาหาร และมีความอ่อนแอต่อ
สภาพแวดล้อมและโรคแมลงศัตรู ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตข้าวได้ในที่สุด
อย่างไรก็ตาม วิธีการปลูกข้าวในนิเวศย่อยนี้ ก็อาจจะปรับเปลี่ยนไปตามสภาพการตกของฝน
ช่วงต้นฤดูปลูก หากปีใดฝนมาเร็วดินนาแฉะหรือมีน�้าขัง ก็จะต้องเปลี่ยนไปปลูกแบบหว่านน�้าตมหรือ
แบบปักด�า ทั้งด้วยแรงงานคนและด้วยเครื่องปักด�าข้าว ซึ่งต้นข้าวจะมีรูปแบบการเจริญเติบโตและปัญหา
วัชพืชในนาจะเป็นอีกแบบหนึ่ง หากมีฝนทิ้งช่วงกลางฤดูปลูก ข้าวที่ปลูกโดยวิธีนี้จะได้รับผลกระทบจาก
ความแห้งแล้งมากกว่าข้าวที่ปลูกแบบหว่านข้าวแห้ง เพื่อลดความเสี่ยงจากการกระทบแล้งกลางฤดูปลูก
จึงต้องมีแหล่งน�้าส�ารองในนา เพื่อเลี้ยงต้นข้าวในระยะวิกฤติไว้ด้วย เพราะปัจจัยด้านน�้ามีอิทธิพลต่อ
ผลผลิตข้าวในนิเวศย่อยนี้มากที่สุด
3.2 นิเวศย่อยข้าวนาสวนนาชลประทาน (irrigated lowland rice)
เป็นนิเวศที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการปลูกข้าวมากที่สุด
ทั้งในด้านสภาพพื้นที่และระบบน�้า ที่สามารถจัดการให้เข้าออกได้เท่าที่ต้องการ นาข้าวในนิเวศนี้มีความ
ั
44 ประวติการปลูกข้าว และข้าวกับสภาพแวดล้อม ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว