Page 49 -
P. 49
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สมบูรณ์ในด้านการปรับระดับแปลงนาและขนาดแปลงนาที่กว้างกว่าพื้นที่ปลูกในนิเวศอื่น เอื้อประโยชน์
ต่อการใช้พันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตสูง (high yield potential varieties) ที่ต้องการการจัดการ
(management, M) และปัจจัยการผลิต (inputs) ในระดับสูงด้วย ท�าให้ข้าวในนิเวศย่อยนี้ให้ผลผลิตต่อ
พื้นที่สูงที่สุด นับว่าเป็นการใช้องค์ประกอบทั้งด้านพันธุ์ (G) สภาพแวดล้อม (E) และการจัดการ (M) ได้
อย่างเต็มศักยภาพ
ดังนั้น การจัดการธาตุอาหารพืชส�าหรับข้าวในนิเวศนี้โดยเฉพาะการใส่ปุ๋ยจึงมีความส�าคัญมาก
ในการปลูกข้าวในนิเวศย่อยนี้ โดยมีอิทธิพลต่อผลผลิตข้าวอย่างเห็นได้ชัด ประกอบกับข้าวในนิเวศนี้มี
การปลูกอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อปี ท�าให้การสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดินมีมากกว่าข้าว
ในนิเวศอื่นด้วย การจัดการธาตุอาหารพืชจึงต้องพิจารณาทั้งในด้านปริมาณตามความต้องการของพืชและ
การรักษาสถานะความอุดมสมบูรณ์ของดินพร้อมกันไปด้วย
พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกในนิเวศย่อยนี้เป็นกลุ่มพันธุ์ข้าวต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสง มีศักยภาพในการให้
ผลผลิตสูงและมีอายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าข้าวในนิเวศอื่น รวมถึงข้าวลูกผสม (hybrid rice) ซึ่งมีลักษณะที่
ส�าคัญคือตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนในระดับสูง มีความต้านทานต่อศัตรูข้าวที่ส�าคัญในนิเวศย่อยนี้ เช่น
เพลี้ยกระโดดสีน�้าตาล โรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง เป็นต้น นอกจากนี้ พันธุ์ข้าวในนิเวศย่อยนี้ยังต้องมี
การพัฒนาพันธุ์ใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง เพราะศัตรูข้าวที่ส�าคัญปรับตัวเปลี่ยนแปลงชีวชนิดให้เข้าท�าลาย
พันธุ์ต้านทานได้ รวมทั้งยังต้องใช้สารป้องกันก�าจัดศัตรูข้าวควบคู่หรือสลับกันไปด้วย
การเพาะปลูกข้าวในนิเวศย่อยนาสวนนาชลประทานมีการใช้เทคโนโลยีการผลิต ปัจจัยการ
ผลิตและเครื่องจักรกลเกษตรมากกว่านิเวศอื่น ตั้งแต่การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษาจัดการดิน น�้า
การใส่ปุ๋ย การป้องกันก�าจัดศัตรูข้าว ตลอดถึงการเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังเก็บเกี่ยว ปัจจุบันข้าว
ในนิเวศนาชลประทานให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่สูงที่สุด จึงช่วยยกระดับผลผลิตเฉลี่ยและผลผลิตรวมของ
ประเทศขึ้นมา ข้าวที่ผลิตได้จากนิเวศนี้ส่วนใหญ่เป็นข้าวในกลุ่ม “ข้าวขาว” (white rice) ซึ่งใช้ประโยชน์
เพื่อการบริโภคในประเทศและส่งออกทั้งรูปของข้าวขาวและข้าวนึ่ง (parboiled rice) พื้นที่ปลูกข้าว
ในนิเวศย่อยนี้ส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างของประเทศ ส่วนในภูมิภาคอื่นมีอยู่ใน
พื้นที่รับน�้าจากแหล่งน�้าชลประทานซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก
4. นิเวศข้าวน�้าลึกและข้าวขึ้นน�้า (deep water and floating rice ecosystem)
ข้าวขึ้นน�้าหรือข้าวนาเมือง (floating rice) เป็นข้าวที่ปลูกในแหล่งที่ไม่สามารถรักษาระดับน�้าได้
บางครั้งระดับน�้าในบริเวณที่ปลูกอาจสูงกว่า 1 เมตร ต้องใช้ข้าวพันธุ์พิเศษที่เรียกว่า ข้าวลอย ส่วนมาก
ปลูกแถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี พิจิตร อ่างทอง ชัยนาทและสิงห์บุรี คิดเป็น
เนื้อที่เพาะปลูกประมาณร้อยละ 10 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั่วประเทศ
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว ประวติการปลูกข้าว และข้าวกับสภาพแวดล้อม ั 45