Page 53 -
P. 53

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                                                                                                            กนกพร  นุ่มทอง

                                                                              ตําราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน



               (ฝ่ามือข้างเดียวตบไม่ดัง) หรือ สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น ภาษาจีนพูดใกล้เคียงกันว่า 百闻不如一见 (ได้ยิน

               ร้อยครั้งไม่สู้ได้เหนนครั้งเดียว) ถือว่ารักษาไว้ได้ทั้งความหมายและภาพความคิด

                    หากในภาษาจีนไม่มีสํานวนที่มีภาพความคิดเหมือนหรือคล้ายกันกับสํานวนภาษาไทย  อาจแปล

               รักษาสํานวนหรือปรับสํานวนโดยรักษาความหมายไว้  การแปลรักษาสํานวนคือรักษาภาพความคิดเดิมใน
               ภาษาไทยโดยที่ภาษาจีนไม่มีภาพความคิดนั้น  ทําได้ในงานวรรณกรรมซึ่งต้องการคงบรรยากาศวัฒนธรรม

               ไทยไว้ เช่นเดียวกับการที่ผู้แปลนิยายกําลังภายในรักษาสํานวนภาษาจีนไว้เปนนต้นว่า ไม่เห็นโลงศพไม่หลั่ง

               น ้าตา ซึ่งมาจาก 不见棺材不落泪 แต่การทําเช่นนี้  ผู้แปลต้องมีความเข้าใจระบบความคิดของคนจีนดี

               พอสมควรที่จะเข้าใจว่า  การรักษาภาพความคิดเดิมเช่นนี้จะทําให้ผู้รับสารชาวจีนเข้าใจได้หรือไม่
                    โดยส่วนใหญ่แล้ว  เมื่อไม่มีภาพความคิดและความหมายอย่างเดียวกันในภาษาจีนกนควรใช้วิธีปรับ

               สํานวนโดยรักษาความหมายไว้  เปนนต้นว่า  ภาษาไทยกล่าวถึงการแสดงความรู้หรืออวดรู้กับผู้ที่รู้เรื่อง

               ดีกว่าว่า เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน จะแปลตรงๆ ว่า 把老椰子卖给椰子园  ผู้รับสารชาวจีนกนอาจไม่เข้าใจ

               ลึกซึ้งหรือเข้าใจทันทีเพราะวิถีชีวิตของคนจีนไม่ได้ผูกพันอยู่กับมะพร้าวเหมือนคนไทย  จึงควรหาภาพ
               ความคิดหรืออุปมาอุปไมยอีกอย่างหนึ่งที่คนจีนเข้าใจมาใช้แทน  ได้แก่ 班门弄斧(ควงขวานหน้าบ้านหลู่

               ปันซึ่งเปนนปรมาจารย์ช่างไม้ของจีน)  หรือภาษาไทยกล่าวถึงภาวะขาดแคลนอาหารหรือทุพภิกขภัยว่า ข้าว

               ยากหมากแพง จะแปลตรงๆ ว่า 米难找,槟榔贵 ผู้รับสารชาวจีน (ยกเว้นคนภาคใต้ที่รู้จักกินหมาก) กนจะ

               ไม่เข้าใจ  จึงต้องแปลว่า 民不聊生 (ราษฎรเดือดร้อนจนไม่อาจใช้ชีวิตอยู่)

                    เนื่องจากในภาษาจีนมีสํานวนมากเพราะมีการสั่งสมของวัฒนธรรมยาวนาน จึงไม่ค่อยประสบปัญหา
               การหาสํานวนมาใช้แทนสํานวนในภาษาไทยเท่าใดนัก  เพียงแต่ต้องค้นคว้าหนังสือคู่มือมากเท่านั้น

                    ข้อควรระวังในการแปลสํานวนโวหารคือ  บางครั้งสํานวนในภาษาไทยและภาษาจีนคล้ายกันมาก  แต่

               มีความแตกต่างในการใช้  เปนนต้นว่า


                    กิ่งทองใบหยก กับ 金枝玉叶(กิ่งทองใบหยก)

                    ทั้งสองสํานวนนี้ใช้คําเดียวกันแต่ความหมายต่างกันมาก กิ่งทองใบหยก หมายถึงหญิงชายเหมาะสม

               กัน ในขณะที่ 金枝玉叶 หมายถึงเชื้อพระวงศ์หรือคนที่มีชาติกําเนิดสูง ฉะนั้นประโยคว่า เขาสองคนสมกัน


               อย่างกับกิ่งทองใบหยก จึงควรแปลว่า 他们俩是天生一对。หรือแปลเปนนภาษาธรรมดาว่า 他们俩很般
               配。

                    วัวหายล้อมคอก กับ 亡羊补牢(แพะหายซ่อมคอก)












                                                           ๔๗
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58